1. รักษาสิวอุดตันด้วยการใช้ยา
เมื่อประสบปัญหาสิวอุดตัน วิธีการรักษาเบื้องต้นที่สุดคือการใช้ยารักษาสิวชนิดทาในการรักษา แต่ด้วยองค์ประกอบด้านสภาพผิวของแต่ละบุคคล ความรุนแรงของระดับสิวอุดตัน และฤทธิ์ของตัวยา เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และช่วยดันหัวสิวอุดตันออกมา แนะนำว่าควรเข้ารับคำปรึกษาจากเภสัชกร และแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน
ส่วนผสมที่มีฤทธิ์ในการรักษาสิวอุดตัน ได้แก่
- เบนซิลเพอรอกไซด์ (Benzoyl peroxide) มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียในการเกิดสิว (P.Acnes) และช่วยลดความมันบนใบหน้าสาเหตุของการอุดตัน
- กรดอะซีลาอิค (Azelaic acid) กรดธรรมชาติที่นำมาใช้รักษาสิวมีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง ช่วยกำจัดแบคทีเรียต้นเหตุของการเกิดสิวอุดตัน
- กรดซาลิไซลิค (Salicylic acid) เป็นกรดจากธรรมชาติอีกหนึ่งตัว ที่จะช่วยกำจัดน้ำมันส่วนเกิน และผลัดเซลล์ผิวเก่าให้หลุดลอกออกไม่ตกค้างในรูขุมขนให้อุดตัน
- กรดไกลโคลิค (Glycolic acid) กรดผลไม้มีคุณสมบัติในการช่วยผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพให้หลุดลอกออกไป ไม่เข้าไปอุดตันในรูขุมขน
- กลุ่มเรตินอล (Retinoids) เช่น Tretinoin Isotretinoin Adapalene คือกลุ่มอนุพันธ์วิตามิน เอ (Vitamin A) ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการผลัดเซลล์ผิวเก่าให้หลุดลอกออกไป ไม่ตกค้างในรูขุมขน
2. รักษาสิวอุดตันด้วยการกดสิว
การกดสิวเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยรักษาสิวอุดตันได้ เพราะเป็นการนำหัวสิวอุดตันออก ตัวเม็ดสิวจึงเกิดยุบตัวลง แต่การกดสิวที่ผิดวิธี หรือกดหัวสิวออกมาไม่หมด ก็อาจจะทิ้งรอยสิวเอาไว้ หรือทำให้สิวเกิดอักเสบขึ้นมาแทนได้ ทำให้อาจจะต้องรักษาสิวอักเสบที่มีขั้นตอนการรักษา และใช้เวลาในการรักษายาวนานขึ้นแทน ดังนั้นหากอยากรักษาสิวด้วยการกดสิว แนะนำว่าควรให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแลในขั้นตอนนี้
3. การเลเซอร์รักษาสิวอุดตัน
การเลเซอร์รักษาสิวอุดตันเป็นอีกหนึ่งทางออกในการรักษาสิวอุดตันที่เห็นผลลัพธ์ได้ดี และตรงจุดที่สุด เพราะตัวเลเซอร์เมื่อยิงลงไปที่สิวอุดตัน จะช่วยเปิดหัวสิว เพื่อให้ง่ายต่อการกดหัวสิวออกในขั้นตอนต่อมา แม้การเลเซอร์สิวอุดตันจะให้ผลลัพธ์ที่ดี แต่การเลเซอร์สิวโดยผู้ไม่มีความเชี่ยวชาญ อาจจะทำให้ผิวไหม้ และผิวบางขึ้น ระคายเคืองง่ายต่อสารเคมี และแสงแดด จนนำมาซึ่งปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำขึ้นมาได้