ผลข้างเคียงจากการใส่หน้ากากอนามัย และการดูแลผิวหน้า
การสวมหน้ากากอนามัยได้กลายเป็นมาตรการสำคัญในการต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตามการสวมใส่หน้ากากยาวนานตลอดทั้งวันสามารถทำลายเกราะป้องกันผิวและนำไปสู่ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การระคายเคือง, ผิวแห้งกร้าน,ผิวขาดน้ำ, รอยสิว ,รอยแดง, อาการคัน, ปวดแสบ, ผิวตึง, รวมไปถึง สิวจากมาสก์ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Maskne = มาสก์ (หน้ากาก) + แอคเน่ (สิว)
ทั้งนี้คุณจะได้รับผลกระทบข้างเคียงเหล่านี้มากยิ่งขึ้น หากคุณมีผิวแพ้ง่ายหรือบอบบาง ที่จริงแล้วหน้ากากอนามัยสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังแบบคาดไม่ถึงหรือทำให้โรคผิวหนังที่เป็นอยู่แย่ลงกว่าเดิม (เช่น สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, โรคผื่นผิวหนังอักเสบ,โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้)
ไบโอเดอร์มามีคำแนะนำด้านผิวหนังเบื้องต้นที่จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าทำไมหน้ากากเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาผิวหน้า เมื่ออ่านคำแนะนำด้านผิวหนังด้านล่างนี้แล้ว คุณจะได้ทราบถึงวิธีการดูแลเกราะป้องกันผิวของคุณ รวมถึงการป้องกันผลข้างเคียงจากการสวมใส่หน้ากากอนามัย
ทำไมหน้ากากเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาผิวหน้า?
ปัจจุบันการสวมใส่หน้ากากเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่การสวมหน้ากากก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางนิเวศชีวภาพต่อผิวหนัง เรามองว่าผิวหนังคือระบบนิเวศที่มีชีวิตที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ผิวหน้าไม่คุ้นชินกับการถูกปกคลุมด้วยหน้ากาก เพราะการสวมหน้ากากทำให้เกิดสภาพแวดล้อมแบบกึ่งปิดกั้น ซึ่งขวางกั้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผิวหน้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกตามธรรมชาติ (เช่น การแลกเปลี่ยนความชื้น รังสียูวี และออกซิเจน) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผิวหน้ากับสิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไป จากที่ได้สัมผัสกับอากาศที่มีออกซิเจน ตอนนี้ผิวหน้าถูก “จำกัด” ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนและชื้น มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง เนื่องจากการหายใจในสภาพแวดล้อมแบบกึ่งปิดกั้นนี้ก่อให้เกิดปัญหาผิวหน้าที่เกิดจากการหมักหมมความชื้น
ผลการศึกษาจากประเทศจีนที่สำรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจำนวน 407 คน พบว่า 49% มีการเปลี่ยนแปลงของของผิวหน้าที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับหน้ากาก โดยอาการคัน (14.9% ของคนไข้), ผื่นแดง (12.6%), และผิวแห้ง (11.6%) คืออาการที่พบบ่อยมากที่สุด นอกจากนี้ 43.6% ของคนไข้ที่มีสิว 100% ของคนไข้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย และ 37.5% ของคนไข้ที่มีผื่นผิวหนังอักเสบ มีอาการกำเริบของโรค1
ผลกระทบข้างเคียงของการสวมใส่หน้ากากที่อาจเกิดขึ้นกับผิวหน้าของคุณมีอะไรบ้าง?
การสวมใส่หน้ากากแสดงให้เห็นแล้วว่าก่อให้เกิดความเสียหายต่อเกราะป้องกันผิว อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผิวหนังขึ้นมาใหม่ หรือไม่ก็ซ้ำเติมปัญหาผิวที่มีอยู่ก่อนแล้ว (ไม่ว่าจะเป็นสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, โรคผื่นผิวหนังอักเสบ, โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้) โดยผิวของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันและมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันออกไป
การระคายเคืองผิว
การสวมใส่หน้ากากทำให้เกิดการเสียดสีมากกว่าจะเป็นสาเหตุของการระคายเคืองผิว แท้จริงแล้วผิวหน้านั้นบอบบางกว่าและอ่อนไหวต่อการเสียดสี การพูด การไอ หรือแม้แต่การขยับเขยื้อนหน้ากากของคุณทำให้เกิดการเสียดสีเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความบอบบางของผิว การเสียดสีซ้ำๆ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง ผลการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขรายงานว่า การระคายเคืองอาจปรากฏขึ้นในแต่ละบริเวณจุดสัมผัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งจมูก คาง และแก้ม ใต้ตาและหลังหู
นอกจากนั้นแล้ว หน้ากากยังกักเก็บสิ่งสกปรกและสิ่งปนเปื้อนที่อาจทำให้ผิวระคายเคืองยิ่งขึ้นไปอีก
ความกังวลเกี่ยวกับผิวหนัง
ผลจากการปิดกั้นผิวหน้าจากการสวมใส่หน้ากากยังเป็นการกระตุ้นการขับเหงื่อ และเมื่อมีทั้งการเสียดสีและการหมักหมม เกราะป้องกันผิวก็อาจได้รับผลกระทบ และก่อให้เกิดอาการ
- ผิวแห้งกร้าน และผื่นแพ้สัมผัส
- ผื่นคัน
- มีผื่นแดงปรากฏขึ้นบริเวณที่เสียดสี (ผื่นคัน โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย)
- การหลุดลอกเป็นขุยบริเวณจมูก แก้ม และคาง (ผื่นผิวหนังอักเสบ2 )
การศึกษาจากประเทศจีนเผยว่า การแห้งกร้าน/ ผิวตึง (70.3%) และการลอกเป็นขุย (62.2%) เป็นปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด3
นอกจากนั้นแล้ว ผลการศึกษาจากโปแลนด์ยังพบด้วยว่า อาการคันที่สัมพันธ์กับการใช้หน้ากากอยู่ที่ 19.6% ของกลุ่มตัวอย่าง โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวบอบบางและมีแนวโน้มเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง4
Maskne (มาสก์เน่) / สิวที่เกิดจากหน้ากาก
การหายใจผ่านหน้ากากทำให้เกิดความร้อนและความชื้น เป็นเหตุให้ผิวหน้ามันมากยิ่งขึ้น ในสภาพที่ร้อน ชื้นกึ่งปิดกั้นเช่นนี้ ต่อมที่ทำหน้าที่ผลิตไขมันอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย (ในส่วนที่เกี่ยวกับซีบัมอ็อกซิเดชั่น) และอาจก่อให้เกิดแบคทีเรียเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฝ้าและรอยด่างอาจปรากฏขึ้นบนผิวหนังของคุณ ซึ่งส่วนใหญ่จะปรากฏบริเวณคางและกรามทั้งสองข้าง และบางครั้งจะปรากฏบริเวณจมูก คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับ “มาสก์เน่” ซึ่งหมายถึงสิวที่เกิดจากหน้ากาก
ผลการศึกษาที่ประเทศจีน พบว่า การลุกลามที่เพิ่มขึ้นของสิวปรากฏขึ้นหลังจากสวมใส่หน้ากากเป็นเวลานาน (มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวันตลอด 5 เดือน)5
การขาดวิตามินดี
ต้องไม่ลืมว่าการสวมใส่หน้ากากยังเป็นการกรองบางส่วนของแสงธรรมชาติไม่ให้ถึงผิวหน้า จะเป็นเรื่องดีหากผิวหน้าไม่ได้รังสียูวี แต่จะไม่ใช่เรื่องที่ดีหากผิวหน้าไม่ได้รับวิตามินดีซึ่งได้รับการสังเคราะห์โดยผิวและจำเป็นสำหรับการซ่อมแซมแคลเซียม