ดูแลรักษาสิวประจำเดือนหรือสิวเมนส์อย่างไร
วิธีรักษาสิวประจำเดือนมีตั้งแต่ขั้นตอนง่าย ๆ ที่สามารถเริ่มทำได้ด้วยตนเอง ไปจนถึงต้องเข้ารับการดูแลรักษาจากแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญ ตามแต่ระดับความรุนแรงของสิวที่เป็นอยู่
โดยสิวเมนส์รักษาได้ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
การใช้ยารักษาสิวประจำเดือน (pharmacologic therapy)
ในช่วงมีประจำเดือนผู้ที่มีสิวระดับน้อย ไม่รุนแรง อาจจะช่วยตัวยาที่เป็นตัวยาทาภายนอกมาช่วยบรรเทาอาการสิวเหล่านี้ได้ แต่ถึงอย่างนั้นในการใช้ยาก็ควรที่จะอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ตัวยาที่แนะนำในการลดสิวประจำเดือน ได้แก่
- กรดอะซีลาอิก (Azelaic acid) ตัวยาดังกล่าวจะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และลดการอักเสบของผิวหนังลง และยังช่วยลดเลือนรอยหลังจากเป็นสิว และช่วยปรับให้ผิวหน้าเรียบเนียนขึ้น
- เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ยารักษาสิวที่มีสรรพคุณต้านเชื้อแบคทีเรีย และช่วยทำให้ผิวแห้งช่วยขจดน้ำมันส่วนเกินออกจากใบหน้าได้
- กรดซาลิไซลิกอ่อนโยน (Mild salicylic acid) กรดในกลุ่ม เบต้า - ไฮดรอกซี (BHA) ที่มีคุณสมบัติในการช่วยหลุดลอกผิวหนังที่ตายไปแล้วชั้นนอกออก และขจัดน้ำมันส่วนเกิน และสิ่งสกปรก เพื่อลดโอกาสการเกินสิวอุดตัน
- เรตินอล (Topical retinoids) กลุ่มยาในอนุพันธ์วิตามิน เอ มีฤทธิ์ในการผลัดเซลล์ผิว ทำให้เซลล์ผิวเก่า และสิ่งสกปรกหลุดลอกออก ทำให้ผิวเรียบเนียน ไร้สิวและสิ่งสกปรกอุดตันในรูขุมขน
- ยาปฏิชีวนะ (Topical and oral antibiotics) ส่วนมากมีเนื้อสัมผัสส่วนมากเป็นโลชั่นและเจล มักใช้ทาในบริเวณสิวอักเสบ เพื่อช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว
การรักษาสิวประจำเดือนโดยไม่ใช้ยา (nonpharmacologic therapy)
มาถึงขั้นตอนการดูแลผิวในช่วงมีประจำเดือนว่าควรดูแลผิวอย่างไร ไม่ให้ผิวเกิดสิวประจำเดือนปะทุขึ้นมาก มีดังต่อไปนี้
- เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เพราะน้ำตาลเป็นหนึ่งในอาหารที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิดสารอนุมูลอิสระที่มีส่วนในการทำร้ายผิวขึ้น หากลดการก่อสารอนุมูลอิสระลงไปได้ ก็สามารถช่วยลดการเกิดสิวตามลงไปด้วยเช่นกัน
- ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอ การดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ทำให้ระบบในร่างกายสมดุล ขับถ่ายดี รวมถึงขับเหงื่อสิ่งสกปรกออกจากรูขุมขนได้ดีด้วย ช่วยให้สุขภาพกาย และสุขภาพผิวพรรณดี ช่วยลดโอกาสการเกิดรอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร และลดโอกาสการเกิดสิวในช่วงที่มีประจำเดือน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายไม่เสียสมดุล และฮอร์โมนไม่แปรปรวน ลดโอกาสเกิดสิวขึ้นตอนเป็นเมน
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีเนื้อเหนียวเหนอะหนะ ในช่วงที่มีรอบเดือน ฮอร์โมนภายในร่างกายจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันใต้ผิวหน้าผลิตน้ำมันออกมามาก จึงควรเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีเนื้อเหนียวข้น เพราะจะทำให่เสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันในรูขุมขนได้
การปรับฮอร์โมนให้สมดุล
แต่ในกรณีที่มีอาการ PMS อาการไม่สบายตัว ไม่สบายใจก่อนมีประจำเดือน รวมถึงมีสิวประจำเดือนอย่างรุนแรง แนะนำให้เข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า เพื่อจะได้รับการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เพราะในบางกรณีอาจจะต้องเข้ามีการปรับสมดุลฮอร์โมน และจ่ายยาให้ผู้เข้ารับการรักษารับประทานด้วย
ยาที่แพทย์อาจจะจ่ายยาให้กับผู้ที่รักษา ได้แก่
- การใช้ยาคุมกำเนิดรักษาสิวฮอร์โมน (Oral Contraceptives) ยาคุมกำเนิดมีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสติน ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้ฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรน ที่มีส่วนกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันนั้น ผลิตน้ำมันลดลง ทำให้ความมันที่จะทำให้ผิวหน้ามีแนวโน้มที่จะเกิดสิวน้อยลง
การใช้ยาต้านแอนโดรเจน (Anti Androgen Drug) ยาตัวดังกล่าวมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนแอนโดรเจน จึงถูกนำมาใช้ในการควบคุมฮอร์โมนแอนโดรเจนที่เป็นฮอร์โมนเพศชายในร่างกาย ที่กระตุ้นการเกิดการทำงานต่อมไขมัน ลดความมันส่วนเกินบนใบหน้า