นอกจากสิวผดที่มักจะเกิดจากอาการแพ้ หรือสิวเสี้ยนที่ก่อให้เกิดความกวนใจอยู่บ้าง ก็มีเจ้าสิวฮอร์โมนตัวร้ายที่เจอได้ในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นชายหญิงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ สิวฮอร์โมนมักมีขนาดใหญ่ เห็นได้อย่างชัดเจนบนใบหน้า ดูแล้วเป็นตุ่มแดงค่อนข้างเด่น และยังส่งผลให้รู้สึกปวดและเจ็บในบริเวณที่เป็นสิวอีกด้วย


การรักษาสิวฮอร์โมนอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันการเกิดสิวซ้ำ จะช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียน ลดโอกาสการเกิดรอยแผลเป็นจากสิวฮอร์โมนได้ด้วย

 

สารบัญบทความ

สิวฮอร์โมนคืออะไร

สิวฮอร์โมนคือ สิวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มักจะพบในวัยรุ่นช่วงแตกหนุ่ม แตกสาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นหญิงช่วงก่อนและหลังรอบเดือนในแต่ละเดือน โดยสิวฮอร์โมนเกิดจากการที่ฮอร์โมนเพศชายในร่างกายที่เรียกว่าเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้น เป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำมันของต่อมไขมัน ทำให้น้ำมันส่วนเกินบนผิวเพิ่มมากขึ้น เกิดสิวอุดตันต่างๆได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

ลักษณะของสิวฮอร์โมนมีความแตกต่างจากสิวประเภทอื่น สังเกตได้จากสิวที่ขึ้นซ้ำในบริเวณเดิม จุดเดิม ที่เดิม หากช่วงที่มีสิวขึ้นเป็นช่วงที่ร่างกายมีสิ่งเร้า เช่น ช่วงประจำเดือน ช่วงที่มีความเครียดสูง เครียดสะสมเป็นระยะเวลานาน หรือผู้ที่ใช้ยาคุม ก็มีความเป็นไปได้ว่าสิวในช่วงนี้เป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุลในร่างกาย หรือระดับฮอร์โมนที่ไม่คงที่

เมื่อเกิดสิวฮอร์โมน อาจทำให้เกิดข้อสงสัยว่า สิวฮอร์โมนเป็นแบบไหน สิวฮอร์โมนชาย สิวฮอร์โมนหญิง มีความแตกต่างกันหรือไม่

ลักษณะของสิวฮอร์โมน มักมาในรูปแบบของสิวอักเสบ เมื่อสัมผัสแล้วจะก่อให้เกิดความรู้สึกระคายเคืองผิวและมีอาการคัน ปวด เจ็บสิวร่วมด้วย สิวฮอร์โมนเกิดได้บนผิวหลายบริเวณ หากเป็นบริเวณใบหน้าจะพบว่ามีสิวฮอร์โมนหน้าผาก สิวฮอร์โมนที่แก้ม บางคนอาจพบสิวฮอร์โมนคางด้วย นอกจากบริเวณใบหน้าแล้วก็มีได้ทั้งสิวฮอร์โมนที่หลัง สิวฮอร์โมนลักษณะนูนบวมอาจพบบนหนังศีรษะได้อีกด้วย

สิวประจำเดือน

สาเหตุของการเกิด สิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมนมีปัจจัยหลักมาจากระดับของฮอร์โมนในร่างกาย บางครั้งอาจเรียกว่า “สิวประจำเดือน” เพราะเป็นสิวที่สาวๆมักพบเจอช่วงเป็นประจำเดือนเสมอ แต่แน่นอนว่าสิวฮอร์โมนก็พบในผู้ชายได้ และไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในวัยรุ่นเท่านั้น

 

ระบบฮอร์โมนภายในร่างกาย

ระดับฮอร์โมนภายในร่างกายส่งผลกระทบต่อการเกิดสิวฮอร์โมน โดยปกติแล้วทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จะมีฮอร์โมนทั้งเพศหญิงและเพศชายอยู่ในร่างกาย ฮอร์โมนเพศชายอย่างเทสโทสเตอโรนที่สูงเกินไปจะกระตุ้นการผลิตไขมันของผิว ทำให้ผิวมีน้ำมันส่วนเกินในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้น ยิ่งเป็นผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงรอบเดือนก็จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มากขึ้นส่งผลให้รูขุมขนกว้างเพราะตัวบวม ยิ่งเพิ่มโอกาสการอุดตันในรูขุมขนมากขึ้นจนกลายเป็นสิวฮอร์โมนหรือสิวประจำเดือนในเวลาต่อมา

 

ปัจจัยทางพันธุกรรม

ปัจจัยทางพันธุกรรม การเกิดสิวนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกและร่างกายของแต่ละบุคคล และผิวที่มีแนวโน้มจะเป็นสิวก็เป็นสิ่งที่ส่งต่อทางพันธุกรรมได้ หากบุคคลในครอบครัวมีสิวมาก หรือเป็นสิวได้ง่าย สมาชิกในครอบครัวก็มีแนวโน้มที่จะเกิดสิวฮอร์โมนได้ง่ายด้วยเช่นกัน

 

ความเครียดหรือสภาวะจิตใจ

ความเครียดหรือสภาวะจิตใจ ความเครียดหรือสภาวะจิตใจที่มีความวิตกกังวลสะสมจะส่งผลต่อระดับของฮอร์โมนและการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย อาการของความเครียดที่เห็นโดยทั่วไปมักเป็นการนอนไม่หลับ ระบบขับถ่ายทำงานต่างจากปกติ จะทำให้ปริมาณของสิวฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนมากจะเป็นสิวอักเสบเนื่องจากมีสาเหตุมาจากฮอร์โมน

 

สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลรักษาความสะอาด หรือมลภาวะจากสิ่งภายนอก ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิวฮอร์โมนมากกว่าเดิมได้

  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • การไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่ได้มาตรฐาน ทำให้ผิวหน้ามันสะสม มีสิ่งตกค้าง
  • สิ่งเร้าภายนอกที่ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล

สิวฮอร์โมนรักษา อย่างไรบ้าง

เนื่องจากสิวฮอร์โมนเป็นสิวเม็ดใหญ่ อาจใช้เวลาการรักษานาน และเมื่อเป็นสิวอักเสบแล้วอาจทำให้เกิดบาดแผลลึกลงไปในผิวหนัง เกิดเป็นหลุมสิวได้ การเร่งการรักษาตัวของสิวฮอร์โมนควรหลีกเลี่ยงการ บีบ แคะ แกะ เกา และใช้วิธีการต่อไปนี้แทน

 

การใช้ยารักษาสิวฮอร์โมน ที่หาซื้อได้ทั่วไป

ยารักษาสิวฮอร์โมน มักเป็นยากลุ่มเดียวกับการรักษาสิวอักเสบ จะมีส่วนช่วยในการละลายหัวสิว ช่วยให้สิวยุบได้ไวขึ้น และช่วยให้หัวสิวแห้ง ลดโอกาสการเกิดการอักเสบที่มากกว่าเดิม สามารถดูรายละเอียดการรักษาสิวประเภทสิวอักเสบได้ที่นี่

 

การใช้ยาคุมกำเนิดรักษาสิวฮอร์โมน (Oral Contraceptives)

การใช้ยาคุมกำเนิดรักษาสิวฮอร์โมน คือการใช้ยาคุมกำเนิดแบบรับประทานเพื่อรักษาระดับฮอร์โมนที่ไม่คงที่ในร่างกาย ยาคุมกำเนิดมีทั้งแบบควบคุมฮอร์โมนเพศชายและเพศหญิง สามารถรับประทานได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อปรับระดับของฮอร์โมนให้สมดุลเพื่อการทำงาน

วิธีแก้สิวฮอร์โมนวิธีนี้ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนการใช้งาน เพราะประเภทและปริมาณของยาคุมกำเนิดแต่ละชนิดมีข้อบ่งชี้การใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้นไม่ควรซื้อยาคุมกำเนิดมาใช้งานเอง ยาคุมกำเนิดสำหรับลดสิวฮอร์โมนจะเป็นกลุ่มยาฮอร์โมนเพศหญิง และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางประเภทไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิด เช่น ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตัน ความดันโลหิตสูง มะเร็งเต้านม ฯลฯ

 

การใช้ยาต้านแอนโดรเจน (Anti Androgen Drug)

ยาต้านแอนโดรเจน จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ลดเทสโทสเตอโรน ลด DHT เพื่อลดการกระตุ้นต่อมไขมัน ลดไขมันส่วนเกิน และช่วยลดการผลัดเซลล์ผิวที่ผิดปกติ ช่วยลดการเกิดการอุดตันจากขนเส้นเล็กบนผิวได้

ดูแลผิวหน้าระหว่าง เป็นสิวฮอร์โมน อย่างไรดี

ในช่วงที่ผิวเป็นสิวฮอร์โมน ควรดูแลผิวหน้าด้วยความอ่อนโยนเป็นพิเศษเพื่อลดสิวฮอร์โมนและหลีกเลี่ยงการเกิดการอักเสบของสิว การดูแลผิวหน้าเพื่อรักษาสิวฮอร์โมนสามารถทำได้โดยเริ่มต้นจากการรักษาความสะอาดของใบหน้า และ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้

 

1. ล้างเครื่องสำอางให้สะอาดหมดจด 

เป็นสิวฮอร์โมน

การล้างเครื่องสำอางให้หมดจด ไม่ควรมองข้ามการใช้คลีนซิ่งซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเช็ดเครื่องสำอางที่มีความติดทน หรือเครื่องสำอางที่อาจตกค้างอยู่ในรูขุมขน เช่น อายไลน์เนอร์ รองพื้น หรือแม้กระทั่งครีมกันแดดซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการดูแลผิวอีกด้วย คลีนซิ่งที่สามารถใช้กับผิวเป็นสิวได้ คือ Bioderma Sebium H2O ซึ่งเป็นคลีนซิ่งที่มีความอ่อนโยนและมีค่า pH 5.5 ซึ่งใกล้เคียงกับผิว

คลีนซิ่งสามารถใช้ได้ทั้งเช้าและเย็นด้วยการเทลงบนสำลีแล้วเช็ดทั่วใบหน้า สามารถใช้กับสิวฮอร์โมนได้ไม่ระคายสิว ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ช่วยควบคุมความมันบนผิวด้วย Zinc Gluconate และจัดการต้นเหตุปัญหาสิวชนิดต่างๆได้ เช่น กำจัดแบคทีเรีย C.Acnes

 

2. ใช้เจลล้างหน้าที่อ่อนโยนต่อผิวหน้า

ลดสิวฮอร์โมน

 

การใช้เจลล้างหน้าที่สามารถล้างน้ำมันส่วนเกินบนผิว แต่ยังคงความอ่อนโยนไว้ให้ จะช่วยให้ผิวหน้ามีความสะอาดลดการระคายเคืองของผิวและไม่ทำให้ผิวอุดตัน เช่น เจลล้างหน้า Bioderma Sebium Gel Moussant เป็นเจลล้างหน้าที่ทำความสะอาดผิวหน้าได้อย่างล้ำลึกและคงความอ่อนโยน และยังมี Copper Zinc Complex ซึ่งช่วยลดความมันบนใบหน้าหลังใช้ได้ถึง 68% อีกด้วย สารสกัดจากแปะก๊วยช่วยลดการอักเสบของสิวได้ และยังใช้ลดสิวอื่นบนร่างกายได้ด้วย เช่น สิวที่หลัง

 

3. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวหน้า 

สิวฮอร์โมนรักษา

เมื่อเกิดสิวฮอร์โมนหรือสิวที่มีการอักเสบค่อนข้างมาก หลายคนมักเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวอย่างสกินแคร์เพราะกลัวการเกิดการอุดตันในรูขุมขน แต่ว่าสกินแคร์ที่มีเนื้อบางเบาและอ่อนโยนจะช่วยบำรุงผิวได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการอุดตัน

อย่าง Bioderma Sebium Lotion ที่เป็นสกินแคร์ประเภทโทนเนอร์น้ำตบ มีความเหลวและเบาบาง ไม่เกิดการอุดตัน และยังสามารถช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นในผิวได้ยาวนานถึง 8 ชั่วโมง พร้อมทั้งกระชับรูขุมขน ควบคุมความมัน เหมาะสำหรับการใช้บรรเทาอาการอักเสบของสิวฮอร์โมนเพราะลดการระคายเคืองได้ และป้องกันไม่ให้เกิดสิวซ้ำจากการอุดตันในบริเวณเดิมได้อีกด้วย ไม่ต้องกังวลการอุดตันหรือความรู้สึกเหนอะหนะ

 

4. หลีกเลี่ยงการขัดหรือสครับหน้าอย่างรุนแรง

การขัดผิวหรือการสครับหน้าเป็นวิธีการเร่งการผลัดเซลล์ผิว แต่การขัดหรือสครับหน้าในช่วงที่มีสิวฮอร์โมนอาจทำให้ผิวเกิดความระคายเคืองและอักเสบกว่าเดิม ทำให้สิวรักษาตัวเองได้ยากกว่าเดิม และทำให้ผิวหน้าโดยรวมบอบบางเสี่ยงต่อการเป็นสิวอีกด้วย ดังนั้นควรล้างหน้าด้วยควาอ่อนโยน และใช้วิธีซับหน้าแทนการเช็ดถู

 

5. ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด

การระวังระดับความกังวลและความเครียดจะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและสร้างความสมดุลให้กับระดับฮอร์โมนในร่างกายได้ การออกกำลังกาย โยคะ หรือทำงานอดิเรกที่ช่วยผ่อนคลายตัวเอง จะลดระดับความเครียดความกดดัน และลดโอกาสการเกิดระดับฮอร์โมนแปรปรวนได้

ผู้หญิงจะได้รับผลกระทบจากฮอร์โมนที่แปรปวนมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีปัจจัยที่ทำให้ฮอร์โมนผันผวนอย่าง ประจำเดือน การตั้งครรภ์ และวัยหมดประจำเดือน (menopause)

ในช่วงประจำเดือน ผู้หญิงจะพบว่ามีสิวเพิ่มขึ้นและแปรปรวนมากกว่าช่วงอื่นของเดือน

ช่วงหมดประจำเดือน (menopause) ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านฮอร์โมนอย่างมาก ทำให้ระบบต่างๆในร่างกายรวน รวมไปถึงการเกิดสิวและการรักษาสิวของร่างกายด้วย การบำรุงผิวตั้งแต่เนิ่นจะช่วยให้ผิวมีสุขภาพแข็งแรงและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น

สิวฮอร์โมนมักจะขึ้นในบริเวณเดิมและอยู่ในช่วงที่มีประจำเดือน หรือช่วงที่มีปัจจัยต่างๆส่งผลต่อฮอร์โมนได้ เช่น ความเครียด ลักษณะการรับประทานอาหาร การนอน

แม้สิวฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์จะพบในผู้ตั้งครรภ์แค่บางคน ก็พบว่าจะอยู่ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์เป็นส่วนใหญ่

ไม่ใช่เพียงแค่วัยรุ่นผู้หญิงเท่านั้นที่เผชิญกับปัญหาสิวฮอร์โมน แต่ช่วงอายุไหน หรือเพศใด ๆ ก็สามารถเกิดสิวฮอร์โมนได้เช่นกัน ดังนั้นในช่วงที่ระดับฮอร์โมนไม่สมดุลนี่มักจะทำให้ผิวอ่อนแอ เราจึงควรดูแลผิวอย่างดี และใส่ใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนกับผิว ไม่ให้ผิวเกิดระคายเคืองจนเกิดสิวฮอร์โมนได้

Bioderma ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม

ทำความสะอาดและบำรุงผิว

ผิวผสมถึงผิวเป็นสิวง่าย

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม (Sébium)

Bioderma ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม

ผิวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เนื่องจากผิวจะมีความหนามากขึ้น มันเงา เกิดสิวอักเสบเป็นจุดมากน้อยแตกต่างกันไป และบางครั้งก็ยังคงเป็นเช่นนั้นต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่อีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม (Sébium) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รังสรรค์ขึ้นเพื่อผิวมันและเป็นสิวง่ายโดยเฉพาะ
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม (Sébium) มีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลผิวที่แพทย์ผิวหนังแนะนำโดยเฉพาะ ทั้งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าสำหรับผิวมัน อย่างเจลล้างหน้าและไมเซล่า วอเตอร์ มอยส์เจอไรเซอร์สำหรับผิวเป็นสิวง่าย และอื่นๆ อีกมากมาย เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวประจำวันให้ตัวคุณเลย!