วิธีการดูแลผิว
ในยุคปัจจุบันที่แสงแดดมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น รวมถึงมลภาวะต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวเรา ทำให้วิธีทางที่ดีที่สุดจะป้องกันผิวจากสิ่งอันตรายเหล่านี้ได้ คงหนีไม่พ้นการสร้างเกราะป้องกันชั้นดีที่แน่นหนาให้กับผิว หนึ่งในนั้นคือการใช้ครีมกันแดด ที่เปรียบเสมือนการสร้างโล่กันแดดป้องกันให้กับผิว และไม่เพียงแค่การใช้ครีมกันแดดทาหน้าเท่านั้น แต่การใช้ครีมกันแดดทาตัวก็ไม่ควรขาด
เพื่อให้การใช้ครีมกันแดดของคุณเกิดประสิทธิภาพสูงสุด วันนี้ Bioderma จึงพร้อมจะจับมือพาคุณไปไขความลับเกี่ยวกับครีมกันแดดไปพร้อม ๆ กัน กับ 16 เรื่อง ครีมกันแดด ที่ช่วยให้การทาครีมกันแดดของคุณไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แต่มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมโชว์ผลลัพธ์ผิวสวยสุขภาพดีอวดโซเชียล
สารบัญบทความ
- ครีมกันแดด คืออะไร
- ทำไมเราจึงต้องทาครีมกันแดด
- 16 เรื่องน่ารู้ของ ครีมกันแดด
- 1. ครีมกันแดด ทำงานอย่างไร
- 2. หากไม่ใช้ครีมกันแดด จะเกิดอะไรขึ้น
- 3. ครีมกันแดดเหมาะกับใครบ้าง
- 4. ประเภทครีมกันแดดตามลักษณะการใช้งาน
- 5. รูปแบบครีมกันแดดในท้องตลาด
- 6. ลักษณะเนื้อผลิตภัณฑ์ของครีมกันแดด
- 7. ส่วนผสมของครีมกันแดด
- 8. ส่วนผสมที่ไม่ควรมีในครีมกันแดด
- 9. ค่า SPF ในครีมกันแดด คืออะไร
- 10. ค่า PA ในครีมกันแดดคืออะไร
- 11. เลือกครีมกันแดดอย่างไรดี
- 12. วิธีการทาครีมกันแดดที่ถูกต้อง
- 13. เราควรใช้ครีมกันแดดปริมาณเท่าไหร่
- 14. ครีมกันแดดอยู่ได้นานแค่ไหน
- 15. ครีมกันแดดทาหน้า vs ครีมกันแดดทาตัว
- 16. ครีมกันแดดที่ดีที่สุด สำหรับผิวแพ้ง่าย
- ครีมกันแดด ไอเท็มสำคัญสำหรับทุกคน
ครีมกันแดด คืออะไร
ครีมกันแดด (Sunscreen) คือ ผลิตภัณฑ์ชนิดครีมที่บรรจุสารป้องกันผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet Rays) ที่มากับแสงแดด ซึ่งสารเหล่านี้จะสร้างเกราะป้องกันให้กับผิว ทำให้เซลล์ผิวหนังไม่ถูกกระตุ้นการสร้างเม็ดสีผิว จนกลายเป็นจุดด่างดำ ฝ้า กระ รวมไปถึงนำไปสู่การสร้างสารอนุมูลอิสระ (Oxidant) และเข้าไปทำลายอีลาสติน (Elastin) และคอลลาเจน (Collagen) ในโครงสร้างชั้นผิว ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควรขึ้น หรืออาจจะร้ายแรงถึงเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง (Skin Cancer)
และในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดมากมาย ทำให้มีการผลิตครีมกันแดดหน้า ครีมกันแดดตัวหลากหลายผิวสัมผัส เพื่อให้เหมาะกับผิวแพ้ง่าย คนเป็นสิว สภาพผิวแต่ละรูปแบบ รวมถึงผิวแต่ละเพศทั้งชาย หญิง และแต่ละช่วงวัยทั้งผู้ใหญ่ เด็ก
มารู้จักกับสภาพผิวต่าง ๆ เพิ่มเติมที่นี่ : ผิวแพ้ง่าย
ทำไมเราจึงต้องทาครีมกันแดด
บอกเลยว่าครีมกันแดดนั้นเป็นอีกหนึ่งในไอเทมสำคัญ เพราะไม่เพียงแค่ผู้ที่ต้องเผชิญหรือทำกิจกรรมอยู่ท่ามกลางแสงแดดเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ที่อยู่ในอาคารเอง ผิวของคุณก็มีโอกาสที่จะต้องประสบพบเจอกับรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet Rays) ที่มีฤทธิ์เข้ามาทำร้ายผิวได้เช่นกัน
เพราะว่ารังสีอัลตราไวโอเลต มีทั้งชนิด UVA (Ultraviolet A-Rays) และ UVB (Ultraviolet B-Rays) ซึ่งรังสี UVA นั้นมีคลื่นความยาวรังสีที่สูงทำให้สามารถเดินทางทะลุกระจกเข้ามาภายในอาคารได้ ซึ่งทำให้เกิดเซลล์เม็ดสีเข้ม ผิวคล้ำ ผิวหน้าหมองคล้ำ หรือมากถึงผิวไหม้แดดกันได้เลยทีเดียว และมากไปกว่านั้นหากได้รับการกระตุ้นจากแสงแดดเป็นประจำ อาจจะกลายสภาพ DNA ใต้ผิว ให้เป็นเซลล์มะเร็งได้
ดังนั้นหนึ่งตัวช่วยที่จะป้องกันผิวได้ คือการใช้ครีมกันแดดผิวหน้า และครีมกันแดดผิวกายจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF และ PA+++ จะช่วยป้องกันผิวเราจากแสงแดดได้อย่างดี เนื่องจากในครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง จะยิ่งปกป้องกันแดดให้ผิวได้นานขึ้น ไม่ต้องทาซ้ำบ่อย ๆ และในส่วนของค่า PA ที่ยิ่งมีเครื่องหมาย + มาก จะยิ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของครีมกันแดดที่ป้องกันได้ดียิ่งขึ้น
และครีมกันแดดยังมีข้อดีอีกมากมาย ที่ควรค่าที่คุณจะลงทุน เช่น
- ครีมกันแดดเป็นเกราะป้องกันที่ดีจากรังสี UV ให้กับผิว
- ป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร
- ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
- ลดการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ บนใบหน้า
- ป้องกันผิวไหม้แดด
- ป้องกันผิวคล้ำเสีย
- ช่วยบำรุงผิวให้แข็งแรง
รู้จักกับค่าต่าง ๆ ในครีมกันแดดเพิ่มเติม : SPF คือ
16 เรื่องน่ารู้ของ ครีมกันแดด
เราเชื่อว่าทุกคนคงจะพอเห็นความสำคัญของการทาครีมกันแดดกันบ้างแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทาครีมกันแดดกันได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการทาครีมกันแดดแบบผิด ๆ ถูก ๆ จะทำให้การทำงานของครีมกันแดดทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ
ดังนั้นวันนี้ Bioderma จึงพร้อมเข้ามาเฉลยทุกข้อสงสัย พาคุณไขทุกความลับ 16 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับครีมกันแดด เพื่อให้ทุกการทาครีมกันแดดของคุณเห็นประสิทธิภาพสูงสุด
1. ครีมกันแดด ทำงานอย่างไร
ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดถูกออกแบบมาให้ป้องกันผิวไหม้จากแสงแดดและป้องกันผิวจากความรุนแรงของรังสี UVA UVB เพราะรังสี UV เมื่อเข้าสู่ผิวหนัง จะเข้าไปรบกวนการเจริญเติบโต และการทำงานของเซลล์ผิว พร้อมทั้งทำลายคอลลาเจน และอีลาสตินในชั้นผิว ทำให้โครงสร้างผิวหย่อนคล้อย จนเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นตามผิวพรรณได้
ครีมกันแดดมีกระบวนการทำงานตามส่วนผสมของตัวกรองรังสี UV ที่บรรจุอยู่ภายในตัวครีมกันแดด เช่น ในครีมกันแดดที่มีส่วนผสมจากสารเคมีอย่าง Homosalate (โฮโมซาเลต) โดยซึมซาบเข้าสู่ผิวชั้นบนสุด แล้วจึงดูดซับรังสี UV ก่อนที่รังสี UV จะเข้ามาทำลายเซลล์ผิว แต่ในส่วนของครีมกันแดดที่มีส่วนผสมจากแร่ธาตุอย่าง Zinc Oxide (ซิงค์ออกไซด์) และ Titanium Dioxide (ไททาเนียมไดออกไซด์) จะช่วยสร้างเกราะป้องกันบนผิว และช่วยสะท้อนรังสี UV ออกจากผิวหนังไป หรือในบางครั้งเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานขั้นสูงสุดครีมกันแดดหน้า ครีมกันแดดตัวอาจจะบรรจุส่วนผสมทั้งสารกรองแสงแดดทั้งแบบเคมีและแร่ธาตุ
2. หากไม่ใช้ครีมกันแดด จะเกิดอะไรขึ้น
หลังจากที่พิจารณาข้อดีของครีมกันแดดดูแล้ว จะเห็นได้ว่าครีมกันแดดมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อผิวมาก แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากคุณไม่ได้ทาครีมกันแดดจะส่งผลเสียอะไรต่อผิวของคุณบ้าง
- เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเซลล์มะเร็งผิวหนัง
- ผิวหนังบางลงจนเห็นเส้นเลือด ไม่เรียบเนียน
- เกิดผิวไหม้แดด
- เกิดริ้วรอยง่าย ดูแก่ก่อนวัย
- เกิดกระ จุดด่างดำ ฝ้าขึ้นตามผิวพรรณ
- สีผิวไม่สม่ำเสมอ
- เกิดรอยแผลจากอาการคัน ผิวไหม้ผื่น รอยแดงได้ง่าย
- สีผิวคล้ำขึ้น
- ได้รับวิตามิน ดี (Vitamin D) จากแสงแดดอย่างเต็มที่
- ผิวจะบางลง
3. ครีมกันแดดเหมาะกับใครบ้าง
คำตอบง่าย ๆ สำหรับคำถามนี้เลย ก็คือ “ทุกคน” ทุกคนจำเป็นต้องทาครีมกันแดดหมด ไม่ว่าจะเป็นคุณผู้ชาย หรือคุณผู้หญิง หรือช่วงอายุไหนก็ตาม ยกเว้นในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน ทุกคนจำเป็นต้องทาครีมกันแดดทุกวัน รวมถึงคนที่มีสีผิวเข้มก็ไม่ควรพลาดที่จะทาครีมกันแดด คุณควรจำไว้เสมอว่าเราจะต้องเผชิญกับแสงแดดตลอดชีวิต ไม่ว่าคุณจะมีสีผิวใดก็ตาม ดังนั้นไม่ควรจะพลาดที่จะทาครีมกันแดดเป็นอันขาด
ส่วนในกรณีเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือนอาจจะยังไม่ควรที่จะทาครีมกันแดดโดยตรง เพราะผิวของคุณหนูยังมีความบอบบางอยู่มาก อาจจะใช้วิธีหลบเลี่ยงแดดแทนการใช้ครีมกันแดดนั่นเอง
4. ประเภทครีมกันแดดตามลักษณะการใช้งาน
ส่วนผสมต่าง ๆ ที่บรรจุอยู่ภายในครีมกันแดดนั้นสร้างคุณสมบัติในการกรองแสง UV ที่แตกต่างกันไป จึงมีกระบวนการทำงานในการป้องกันผิวจากรังสี UV ที่ไม่เหมือนกัน โดยเราสามารถจำแนกกลุ่มประเภทหลัก ๆ ของส่วนผสมในครีมกันแดดเป็น 2 ประเภทได้ ดังนี้
1) ครีมกันแดด ประเภทสะท้อนรังสีหรือครีมกันแดดมิเนอรัล(Mineral sunscreens)
ครีมกันแดดประเภทนี้จะซึมซาบสารต่าง ๆ ไปบนผิวชั้นบน และสร้างเกราะป้องกันทันทีหลังทา จึงมีส่วนในการช่วยสะท้อนรังสี UVA UVB ให้ออกไปจากผิวตั้งแต่ชั้นผิวหนังกำพร้า เปรียบเสมือนกับกระจกใบเล็ก ๆ ที่ติดอยู่ที่ผิวหนัง
คุณสมบัติหนึ่งของครีมกันแดด ประเภทสะท้อนรังสี มักจะมีเนื้อสีขาวทึบ จึงเห็นได้ชัด และอาจทิ้งคราบขาว เมื่อทาลงไปบนผิว และเนื่องด้วยครีมกันแดดชนิดนี้จะเคลือบอยู่บนผิวชั้นบนสุด ทำให้เมื่อถูกเสียดสี เหงื่อมาชะล้าง จะสามารถหลุดลอกออกไปได้ง่าย ๆ จึงเป็นครีมกันแดดที่ไม่อุดตันตามรูขุมขน แต่จำเป็นต้องทาครีมกันแดดชนิดนี้ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ในปริมาณที่เพียงพอ
ครีมกันแดดประเภทสะท้อนรังสีส่วนมากประกอบด้วยส่วนผสมของ Zinc Oxide (ซิงค์ออกไซด์) และ Titanium Dioxide (ไททาเนียมไดออกไซด์) แต่ส่วนผสมเหล่านี้มีโมเลกุลขนาดเล็กจึงต้องระวังในการสูดดมเข้าไปในปอด จึงควรเลี่ยงที่จะใช้ครีมกันแดดประเภทนี้ในรูปแบบสเปรย์ และแป้ง
2) ครีมกันแดด ประเภทดูดซับรังสี หรือครีมกันแดดเคมีคอล (Chemical sunscreens)
ครีมกันแดดประเภทดูดซับรังสีมักจะประกอบด้วย Oxybenzone Avobenzone Octinoxate Octocrylene Octisalate Homosalate สารเหล่านี้จะทำงานโดยการซึมซาบลงไปสู่ชั้นผิว และจะทำหน้าที่ดูดซับรังสี UV แล้วเปลี่ยนเป็นความร้อน จึงค่อยคลายความร้อนเหล่านี้ออกจากผิว
เนื่องจากรังสี UV เหล่านี้ต้องซึมซาบลงไปสู่ชั้นผิวเสียก่อนเพื่อไปพบกับสารกันแดดเหล่านี้ ทำให้หนึ่งในผลเสียที่เกิดขึ้น คือ ครีมกันแดดประเภทนี้จะไม่สามารถป้องกันรังสี UVA ได้ทั้งหมด ทำให้ยังอาจจะเกิดการทำร้ายผิวในชั้นที่ลึกลงไปอยู่ดี
และที่สำคัญในการทาครีมกันแดด ประเภทดูดซับรังสี จำเป็นต้องทาทิ้งไว้อย่างน้อย 20 นาทีก่อนออกแดด เพื่อประสิทธิภาพในการกันแดดสูงสุด นอกจากนี้การสัมผัสแสงแดดโดยตรง จะดึงการทำงานของสารกันแดดได้เร็วขึ้น ทำให้จำเป็นต้องทาครีมกันแดดซ้ำบ่อย ๆ
อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องระวังในการทาครีมกันแดดประเภทดูดซับรังสีคือความร้อนที่ปล่อยออกมา หากผู้ที่มีผิวบอบบางอาจจะระคายเคืองต่อความร้อนที่ออกมา จึงนำมาสู่ปัญหาผิวผื่นแดง สีผิวคล้ำ หรือเกิดจุดด่างดำขึ้นได้ นอกจากนี้ด้วยคุณสมบัติที่ซึมซาบลึก ทำให้อาจจะง่ายต่อการอุดตันตามรูขุมขน นำมาสู่การเกิดปัญหาสิวอุดตัน
5. รูปแบบครีมกันแดดในท้องตลาด
ปัจจุบันทางผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดเองก็ต้องการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานครีมกันแดดมากยิ่งขึ้น จึงมีการผลิตประเภทของครีมกันแดดหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น เพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้งานครีมกันแดดเอง
1) ครีมกันแดดแบบสเปรย์
ครีมกันแดดรูปแบบสเปรย์ใช้ง่ายในสภาพอากาศร้อน เพราะไม่เหนียวเหนอะหนะติดผิว ซึมไวไม่ทิ้งคราบ ไม่อุดตันในผิว ให้เกิดปัญหาสิวอุดตัน สิวอักเสบให้กวนใจ
2) ครีมกันแดดแบบโลชั่น
ครีมกันแดดเนื้อเข้มข้นสุดจากประเภทครีมกันแดดทั้งหมด จึงมีคุณสมบัติกันน้ำ กันเหงื่อได้ดี ทำให้ครีมกันแดดไม่ไหลเยิ้ม ให้ทิ้งคราบหมองให้หนักใจระหว่างวัน และด้วยเนื้อที่หนัก อาจจะใช้ทาในช่วงที่อากาศเย็นก็จะช่วยบำรุงผิวไม่ให้แห้งแตกได้
3) ครีมกันแดดแบบสติ๊ก
ครีมกันแดดแบบสติ๊ก หรือครีมกันแดดแบบแท่ง เป็นครีมกันแดดที่ช่วยทำให้การทาครีมกันแดดระหว่างวันง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะครีมกันแดดชนิดจะสามารถพกพาออกข้างนอกได้สะดวก ไม่ต้องใช้มือสัมผัสกับครีมกันแดด ทำให้ลดการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายนั่นเอง
4) ครีมกันแดดเจล
เป็นหนึ่งในครีมกันแดดที่ใช้งานง่าย เพราะมีเนื้อบางเบา เหมาะกับผู้ใช้ที่อยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว หรือผู้ที่มีสภาพผิวมัน ก็สามารถใช้ได้อย่างไม่รำคาญใจ ด้วยเนื้อกันแดดที่เบา และซึมซาบง่าย ไม่ทิ้งความมันไว้บนผิว
6. ลักษณะเนื้อผลิตภัณฑ์ของครีมกันแดด
เนื่องจากสภาพผิวของผู้ใช้งานครีมกันแดดมีความหลากหลายแตกต่างกันไป ทำให้เพื่อสามารถเลือกครีมกันแดดที่เหมาะสมกับผิวของผู้ใช้งานมากที่สุด และไม่ก่อปัญหาผิวอื่น ๆ ตามมา เราลองมาดูชนิดเนื้อสัมผัสของครีมกันแดดกันเลย
- ครีมกันแดดเนื้อมูสเป็นเนื้อครีมกันแดดแบบบางเบา เนื้อค่อนข้างคงตัว เกลี่ยง่าย ทาง่าย ไม่เหนียวเหนอะหนะ ไม่อุดตันผิว เหมาะสำหรับผู้ที่มีสภาพผิวแห้งไปจนถึงสภาพผิวธรรมดา
- ครีมกันแดดเนื้อแป้งครีมกันแดดที่มีลักษณะเป็นผง จึงไม่ทิ้งความมันไว้ เมื่อทาแล้วให้ความรู้สึกเหมือนทาแป้ง จึงมีส่วนช่วยคุมมัน ทำให้เหมาะกับการเป็นครีมกันแดดหน้าสำหรับผู้ที่มีหน้ามัน
- ครีมกันแดดเนื้อเจลเนื้อสัมผัสเป็นเจลบางเบา สบายผิว เกลี่ยง่าย ไม่เหนียวเหนอะหนะ จึงไม่ก่อการอุดตันในรูขุมขน และมักเป็นผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดไม่มีสี ทำให้ทาไปแล้วหน้าไม่ลอย เหมาะที่จะเป็นครีมกันแดดสำหรับคนเป็นสิว และผิวมัน
- ครีมกันแดดเนื้อน้ำนมครีมกันแดดเนื้อสีขาว เหลว เหมือนน้ำนม จึงเกลี่ยง่าย ซึมซาบไว แต่ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว เหมาะสำหรับทั้งผู้มีสภาพผิวมัน หรือผิวแห้งก็สามารถใช้ได้ เนื่องจากแม้จะช่วยคงความชุ่มชื้นในผิว แต่ไม่ทิ้งความมันเอาไว้บนผิวนั่นเอง
- ครีมกันแดดเนื้อเซรั่มครีมกันแดดเนื้อน้ำเซรั่ม ซึมลงบนผิวได้ดี เบาบาง ไม่ไหลเยิ้มระหว่างวัน ลดโอกาสการอุดตันผิว ส่วนใหญ่มักจะเป็นครีมกันแดด ไม่ผสมรองพื้น ทำให้หน้าไม่ลอยผิดเฉดสี เหมาะสำหรับเป็นครีมกันแดดผิวแพ้ง่าย หรือผิวมัน
7. ส่วนผสมของครีมกันแดด
ส่วนผสมในครีมกันแดดหลัก ๆ แล้วที่บรรจุภายในครีมกันแดด ได้แก่ “สารกันแดด” ซึ่งสารกันแดดมีหลากหลายประเภท ทั้งสารประเภทเคมี หรือสารออร์แกนิกล้วน ๆ ส่วนใหญ่แล้วมีส่วนผสมอะไรบ้างมาดูกัน เพราะ สารกันแดดแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี UV ที่แตกต่างกันไป เช่น
- Benzophenone-3 (Oxybenzone)
- Titanium Dioxide
- Zinc Oxide
- Terephthalylidene Dicamphor Sulfonic Acid
- Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol หรือ Tinosorb M
8. ส่วนผสมที่ไม่ควรมีในครีมกันแดด
ในการเลือกทาครีมกันแดดนั้น ก็จำเป็นต้องสำรวจดูส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจสอบดูว่าในผลิตภัณฑ์มีสารอันตราย หรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองใด ๆ ปะปนอยู่หรือไม่ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงตามความเหมาะสมได้อย่างถูกต้อง เช่น
- แอลกอฮอล์
- น้ำหอม
- พาราเบน (Parabens)
- สาร PABA (กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก)
- Octyl Methoxycinnamate (สารออกทิลเม็ทท๊อกซ์ซี่ซินาเมท)
- Salicylate (สารซาลิไซเลต)
- Octocrylene (สารออกโตไคลีน)
9. ค่า SPF ในครีมกันแดด คืออะไร
ค่า SPF (The sun protection factor) ในครีมกันแดดที่ระบุไว้บนฉลากครีมกันแดด ช่วยระบุให้ผู้ใช้งานครีมกันแดดทราบได้ว่า ครีมกันแดดดังกล่าวมีความสามารถเพียงใดในการป้องกันผิวจากรังสี UVB เพราะว่ารังสี UVB เป็นสาเหตุหลักในการเกิดผิวไหม้ เช่นเดียวกับรังสี UVA ที่ก็สามารถก่อให้เกิดผิวไหม้ และนำไปสู่การเกิดมะเร็งผิวหนังได้ในภายหลัง แต่ว่าค่า SPF ที่ระบุไว้บนฉลากไม่สามารถระบุถึงคุณสมบัติในการป้องกันรังสี UVA ได้
ยิ่งค่า SPF สูงขึ้นมากเท่าไหร่ ยิ่งแสดงถึงความสามารถในการป้องกันรังสี UVB ได้มากเท่านั้น แต่ก็อย่างที่ทราบกันดี ไม่มีครีมกันแดดใด จะสามารถป้องกันรังสี UVB ได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 สามารถป้องกันรังสี UVB ได้97% หรือครีมกันแดด SPF 50 สามารถกันรังสี UVB ได้ 98%
10. ค่า PA ในครีมกันแดดคืออะไร
ค่า PAในครีมกันแดดนั้น มีความหมายบ่งชี้ถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากรังสี UVA โดยจะแสดงค่าของการป้องกันรังสี UVA จากเครื่องหมาย + ที่ระบุอยู่ข้างหลังตัวหนังสือ PA ซึ่งยิ่งเครื่องหมาย + มากขึ้นเท่าไหร่ยิ่งแสดงถึงความสามารถในการป้องกันรังสี UVA ได้มากเท่านั้น
ซึ่งในปัจจุบันครีมกันแดดตามท้องตลาด มีการระบุค่า PA แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ดังนี้
- PA+ระดับการป้องกันรังสี UVA น้อยที่สุด เหมาะกับกลุ่มที่ใช้กันแดดภายในอาคาร ที่ไม่ต้องเผชิญกับแสงแดดโดยตรง เช่น กลุ่มพนักงานออฟฟิศ
- PA++ระดับการป้องกันรังสี UVA ระดับปานกลาง มักเหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง ที่โดยแสงแดดเล็กน้อย ไม่รุนแรง
- PA+++ระดับความสามารถในการป้องกันรังสี UVA ระดับสูง เหมาะกับผู้ที่ต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน แสงแดดแรงจัด เช่น ไปทะเล
11. เลือกครีมกันแดดอย่างไรดี
ในปัจจุบันมีครีมกันแดดหลากหลายประเภทมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถเลือกใช้ครีมกันแดดแต่ละประเภท แต่ละค่าสารป้องกันแดด แต่ละเนื้อสัมผัสได้ตามความต้องการ ตามการใช้งาน ตามสภาพผิวและตามไลฟ์สไตล์ของคุณ
แต่หลัก ๆ ที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้ครีมกันแดดเลย ก็คือ
- จะต้องมีสารกันแดดที่ป้องกัน UVA UVB บรรจุในครีมกันแดด
- อย่างน้อยต้องมีค่า SPF 30 หรือมากกว่านั้น
- เลือกครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้ จึงสามารถใช้ขณะว่ายน้ำได้ ซึ่งจะป้องกันยาวนานได้ประมาณ 40 - 80 นาที ตามแต่ฉลากระบุ
12. วิธีการทาครีมกันแดดที่ถูกต้อง
ไม่ใช่การทาครีมกันแดดแล้วจะช่วยป้องกันผิวจากแสงแดดได้ 100% แต่การทาครีมกันแดดที่ถูกวิธีต่างหาก ที่จะช่วยให้ประสิทธิภาพของครีมกันแดดทำงานได้อย่างเต็มที่ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีจากการทาครีมกันแดดควรทำตามวิธี ดังต่อไปนี้
- ทาครีมกันแดดในทุกบริเวณที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม
- ใช้ครีมกันแดดอย่างน้อย 1 ออนซ์ในการทาผิวทั่วตัวเป็นอย่างต่ำ ตามขนาดตัวของผู้ทา
- ทาครีมกันแดดลงบนผิวที่แห้งอย่างน้อย 15 - 30 นาทีก่อนออกแดด
- ทาครีมกันแดดซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น หากจำเป็นต้องลงน้ำ หรือเหงื่อออก
13. เราควรใช้ครีมกันแดดปริมาณเท่าไหร่
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ครีมกันแดด แนะนำว่าผู้ใช้งานครีมกันแดดควรทาครีมกันแดดให้ทั่วลำตัวได้อย่างน้อย 1 ออนซ์ หรือเทียบเท่าได้กับปริมาณเต็ม 1 แก้วช็อต เพราะหากทาในปริมาณน้อยกว่านี้จะลดประสิทธิภาพในการป้องกันแดดลงไป
ในส่วนของครีมกันแดดหน้า และลำคอ ควรใช้ในปริมาณมาตรฐานทำกับ 2 มิลลิกรัม/ตารางเซนติเมตร หรือวัดได้ง่าย ๆ เท่ากับบีบครีมกันแดดให้ยาวเท่ากับ 2 นิ้ว หรือบีบให้เต็ม ๆ นิ้ว 2 ข้อนิ้วในนิ้วเดียว
14. ครีมกันแดดอยู่ได้นานแค่ไหน
ครีมกันแดดนั้นเมื่อทาลงไปสู่ผิวตามปริมาณมาตรฐาน 1 ออนซ์ทั่วร่างกาย จะมีประสิทธิภาพอยู่บนผิวหนังนาน 2 ชั่วโมง แต่จะอยู่ได้ในระยะเวลาที่สั้นลงหากทำกิจกรรมทางน้ำ ว่ายน้ำ หรือถูกทำให้หลุดลอกจากเหงื่อออก หรือถูกเช็ดออกด้วยผ้าขนหนู ดังนั้นอย่างน้อยจึงควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง ถึงแม้จะทาครีมกันแดดชนิดกันน้ำที่มีคุณสมบัติในการคงสภาพไว้ 40 - 80 ชั่วโมงแล้วก็ตาม ก็จำเป็นที่จะต้องทาครีมกันแดดซ้ำอยู่ดี
15. ครีมกันแดดทาหน้า vs ครีมกันแดดทาตัว
ครีมกันแดดนั้นมีทั้งชนิดครีมกันแดดทาหน้า และครีมกันแดดทาตัว แต่ในปัจจุบันอาจจะมีหลาย ๆ คนยังไม่รู้นำครีมกันแดดทาตัวมาทาหน้า จริง ๆ ไม่สามารถนำสลับกันได้ เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อผิวหน้าแทน
1) ครีมกันแดดทาหน้า
ครีมกันแดดที่ใช้ทาหน้ามักจะมีความเข้มข้นของส่วนผสมที่อ่อนโยนกว่าครีมกันแดดผิวกาย เพราะผิวหน้านั้นมีความบอบบางกว่าผิวกายมาก
แต่ถ้าหากใครจะเอาครีมกันแดดทาหน้าไปถ้าตัวก็สามารถทำได้ แต่จะเป็นการสิ้นเปลืองปริมาณครีมกันแดดไปเสียเปล่า ๆ ยกเว้นในกรณีที่ครีมกันแดดหน้าอาจจะสร้างความระคายเคืองต่อผิวหน้าอาจจะเอาไปทาผิวกายทดแทนได้
2)ครีมกันแดดทาตัว
ครีมกันแดดทาตัวจะมีความเข้มข้นของส่วนผสมมากกว่าครีมกันแดดทาหน้า จึงไม่ควรเอาไปใช้ทาหน้า เพราะผิวหน้ามีความบอบบางกว่าผิวบริเวณตัวมาก ทำให้เมื่อนำครีมกันแดดทาตัวมาทาหน้า อาจจะสร้างความระคายเคืองให้กับผิวหน้าได้
16. ครีมกันแดดที่ดีที่สุด สำหรับผิวแพ้ง่าย
ครีมกันแดด Bioderma Photoderm Aquafluideครีมกันแดดเนื้อน้ำนม อ่อนโยน เนื้อบางเบา เกลี่ยง่าย สบายผิว สามารถปกป้องผิวจากแดดได้นานถึง 8 ชั่วโมง ด้วยประสิทธิภาพกันแดดที่มีค่า SPF สูงถึง 50+ ค่า PA++++ และเทคโนโลยี Sun Active Defense (UV Filters + Ectoin + Mannitol)
ปกป้องผิวได้จากทั้ง UVA UVB และแสงสีฟ้า ทำให้ผิวไม่หมองคล้ำ แม้จะต้องอยู่กลางแจ้งทั้งวัน และยังเป็นเกราะป้องกันชั้นเยี่ยมในการลดแนวโน้มการเกิดเซลล์ผิวเสื่อม ฝ้า กระ จุดด่างดำ ริ้วรอยแห่งวัย
ครีมกันแดดBioderma Photoderm Cover Touchครีมกันแดดเนื้อแมตต์ ทำให้เหมาะกับทั้งผิวมัน ผิวผสม ผิวแพ้ระคายง่าย เพราะไม่ทิ้งความมันไว้บนผิว ระหว่างวัน จึงไม่ก่อให้ผิวเกิดการอุดตันมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญครีมกันแดดตัวนี้มีจุดเด่นที่มีสีเนื้อช่วยปกปิดรอยดำ รอยแดง รอยสิวได้อย่างดี ช่วยทำให้ผิวดูดี เนียนใส ไร้ที่ติ
และด้วยเทคโนโลยี Sun Active Defense (UV Filters + Ectoin + Mannitol) และค่า SPF สูงถึง 50+ ทำให้ช่วยป้องกันผิวจากแสงแดดที่เข้ามาทำร้ายผิว พร้อมการปกป้องแอนตี้ออกซิแดนท์ (Anti-Oxidant) ได้สูงถึง 84% ช่วยป้องกันเซลล์ผิวเสื่อมจาก UVA ได้อย่างเห็นชัด
ครีมกันแดด ไอเท็มสำคัญสำหรับทุกคน
เพียงเท่านี้แล้วทุกคนก็คงจะได้รู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย 16 เรื่องจากครีมกันแดดไปไม่น้อย เห็นอย่างนี้แล้วทุกคนก็ไม่ควรจะพลาดในการทาครีมกันแดดเป็นประจำไม่ให้ขาด และทาครีมกันแดดให้ถูกวิธี ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ช่วยสะท้อนผลลัพธ์การใช้งานของครีมกันแดดได้อย่างสูงสุด
ปกป้องผิวจากแสงแดด
ผิวแพ้ง่ายที่ต้องเผชิญกับแสงแดด
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโฟโตเดิร์ม (Photoderm)
คุณกำลังมองหาครีมกันแดดประสิทธิภาพสูงสำหรับผิวของคุณอยู่หรือเปล่า
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโฟโตเดิร์ม (Photoderm) คือผลิตภัณฑ์กันแดดครบวงจรสำหรับทุกสภาพผิวรวมถึงผิวที่มีความไวต่อแสงแดด โดยมีทั้งผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดสำหรับผิวที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นอย่างแสงแดดหรือสารเคมีผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดสำหรับผิวแพ้ง่าย และผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดสำหรับผิวมันถึงผิวเป็นสิวง่ายโดยเฉพาะ