ไขมันที่จมูก (Sebaceous Filament) คือสิวเสี้ยนหรือไม่? คงเป็นคำถามเกิดขึ้นในใจใครหลาย ๆ คนที่กำลังเผชิญอยู่กับปัญหาจุดสีดำ ๆ ที่บริเวณจมูก ว่าแท้จริงแล้วมันเป็นไขมันที่จมูกหรือสิวเสี้ยนกันแน่ เพื่อการแก้ไขปัญหาผิวได้อย่างตรงจุด เรามาดูกันดีกว่าว่าแท้จริงแล้วต่อมไขมันข้างจมูกคืออะไร? แล้วจะทำอย่างไรถึงจะขจัดปัญหานี้ไปให้พ้นจากผิวหน้าได้?!

ไขมันที่จมูก (Sebaceous Filament) คืออะไร 

ไขมันที่จมูก (Sebaceous Filament) คืออะไร? มองไปครั้งแรกที่จุดดำ ๆ บริเวณจมูก ก็พาลทำให้คิดว่าเป็นสิวเสี้ยน สิวหัวดำ ก็เลยเลือกที่จะสครับขัดผิวหน้า แต่ที่ไหนกันกับทำให้จุดสีดำลุกลามรุนแรงขึ้นกว่าเดิมอีก!

ไขมันที่จมูกเกิดจากต่อมไขมันที่จมูกผลิตน้ำมัน (Sebum) น้ำมันที่ไหลขึ้นมาจากต่อมไขมันใต้ผิวออกมาสู่ผิวหนังกำพร้าชั้นนอก (Epidermis) นั้น มักจะทิ้งคราบน้ำมันทิ้งไว้ตามท่อรูขุมขน ต่างกับสิวอุดตันชนิดต่าง ๆ ที่เป็นไขมันอุดตันปิดกั้นรูขุมขน

ไขมันตามร่องจมูกมีลักษณะเป็นสีเหลือง ๆ ปนเทา ๆ  และเมื่อสัมผัสจะไม่ได้รู้สึกนูนเหมือนกับสิวต่าง ๆ สังเกตได้ชัดตามบริเวณคาง แก้ม หน้าผาก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : สิวที่จมูก

ผู้ที่มีผิวปกติทั่วไปก็สามารถเกิดปัญหาต่อมไขมันจมูกผลิตไขมันออกมาเกาะอยู่ตามที่จมูกจนสังเกตเห็นได้ แต่มักจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นได้ง่ายในผู้มีผิวมัน และรูขุมขนกว้าง เมื่อเทียบกับผู้ที่มีผิวแห้ง และรูขุมขนเล็ก เพราะต่อมไขมันที่จมูกจะมีจำนวนน้อย และผลิตไขมันออกมาน้อยกว่า

ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนกระตุ้นในการเกิดไขมันที่จมูก ได้แก่

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผิวผสม , ผิวแพ้ง่าย

แสงแดด

การรักษาสิวไขมันข้างจมูก Sebaceous Filament 

เมื่อสัมผัสเข้ากับไขมันข้างจมูกเข้า จะพบว่ามีกลิ่นเหม็นทำให้เป็นปัญหากวนใจใครหลาย ๆ คน เพราะฉะนั้นอาจจะต้องมีตัวช่วยเสริมเข้ามาอย่างการใช้ตัวยา และเลเซอร์เข้ามาลดความมันบนผิวบริเวณจมูกที่เป็นต้นตอของการเกิดการสะสมของไขมันที่จมูก

การใช้ยาเพื่อลดไขมันที่จมูก (Medications)

การใช้กลุ่มตัวยาที่มีคุณสมบัติในการลดความมันบนใบหน้า และรวมถึงช่วยผลัดเซลล์ผิว จะช่วยให้ไม่มีคราบไขมันต่าง ๆ ลงเหลืออยู่ตามรูขุมขน ทำให้ช่วยกำจัดปัญหาไขมันที่จมูกตั้งแต่ต้นตอ และลดแนวโน้มการเกิดสิวอุดตันในเวลาต่อมา

กลุ่มตัวยาที่ช่วยลดการเกิดสิวและไขมันข้างจมูก ได้แก่

  • กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) หรือกรด BHA 
  • เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide)
  • กรดแมนเดลิก (Mandelic acid)
  • ทีทรีออยล์ (Tea tree oil)
ยาทาไขมันที่จมูก

การใช้เลเซอร์เพื่อรักษาสิวไขมันข้างจมูก (Laser therapy)

การเลเซอร์ (Laser Therapy) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดปัญหาไขมันที่จมูกลงไปได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งเป็นวิธีที่มอบความมั่นใจให้กับผู้เข้ารับการรักษาได้ เพราะเป็นหัตถการที่ทำโดยแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญ การเลเซอร์นั้นมีข้อดีอื่น ๆ มากกว่าที่คุณคิด แต่ทั้งนี้ก็ยังมีข้อจำกัดอื่น ๆ อยู่ด้วย

  • แสงเลเซอร์จะเข้าไปช่วยลดการผลิตไขมันจากต่อมไขมันข้างจมูก โดยลำแสงเลเซอร์จะไม่ทำร้ายหน้าผิวชั้นหนังกำพร้า เพราะแสงจะแทรกซึมลงไปในชั้นผิวแทนเพื่อยับยั้งการทำงานของต่อมไขมัน
  • เลเซอร์มีส่วนช่วยในการกำจัดไขมันที่จมูก รวมถึงฝ้า กระ จุดด่างดำ สิวหัวดำ สิวหัวขาว
  • แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลเซอร์ไม่ใช่การรักษาไขมันที่จมูกให้หายไปได้อย่างถาวร เพราะไขมันที่จมูกสามารถเกิดการสะสมขึ้นมาได้อีก
เลเซอร์ไขมันที่จมูก

การป้องกันการเกิด Sebaceous Filament 

เพราะปัญหาไขมันที่จมูกเกิดจากการสร้างน้ำมันมากเกินไป และการเสียสมดุลระหว่างน้ำ และไขมันบนผิว ดังนั้นหลักสำคัญของการรักษาสมดุลของผิวคือควรหมั่นให้ความชุ่มชื้นกับผิวอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ผิวแห้งจนร่างกายกระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันบนผิวเพิ่มมากขึ้น และในอีกทางหนึ่งก็ไม่ควรเพิ่มความมันให้กับผิวมากขึ้น

ทริคง่าย ๆ ที่คุณจะทำตามได้ในการป้องกันการเกิดไขมันที่จมูก มีดังนี้

  • ล้างหน้าให้สะอาดหมดจดทุกเช้า - เย็น และหลังออกกำลังกาย
  • เลี่ยงการขัดถูใบหน้าอย่างรุนแรง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสูตรปราศจากน้ำมัน (oil-free) หรือสูตรลดการอุดตันในรูขุมขน (non-comedogenic)
  • ทาครีมบำรุงผิวเป็นประจำทุกวัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว
  • เลือกใช้เจลล้างหน้าที่ทำความสะอาดผิวหน้าอย่างอ่อนโยน ไม่ทำร้ายผิวให้แห้งกร้าน

ความแตกต่างของ Sebaceous Filament กับ สิวเสี้ยน 

การที่จะแยกลักษณะความแตกต่างกันของไขมันที่จมูกกับสิวเสี้ยนอย่างเห็นได้ชัดเลย คือดูจากลักษณะรูปร่างและสีของไขมันว่ามีลักษณะเข้าข่ายอะไรกันแน่?

  • รูปร่าง สิวเสี้ยนจะเป็นก้อนไขมันที่ไปอุดตันอยู่ในรูขุมขนรวมกับขนอ่อนเส้นเล็ก ๆ ในทางตรงกันข้ามไขมันที่จมูกจะมีลักษณะเป็นเส้นบาง ๆ คล้ายกับเส้นผม
  • สี ไขมันที่จมูกหากมองจากภายนอกไกล ๆ จะเหมือนกับจุดด่างดำ เพราะหัวของใยไขมันที่จมูกจะมีสีเหลืองปนเทา ส่วนสิวเสี้ยนจะมีสีของหัวสิวเป็นสีเข้มเพราะรูขุมขนบริเวณสิวนี้จะเปิดออกทำให้สัมผัสโดนกับอากาศ จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ไขมันหัวสิวจึงมีสีดำเข้ม

เมื่อใช้ยารักษาทั่วไปที่หาซื้อได้ตามร้านขายยามาในการช่วยบรรเทาอาการแล้วยังรู้สึกว่าสภาพผิวยังไม่ดีขึ้น แนะนำว่าอาจจำเป็นต้องเข้าพบกับแพทย์ผิวหนัง เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยอาการ พร้อมทั้งจ่ายยาที่มีส่วนช่วยลดความมันบนใบหน้า ลดสาเหตุในการเกิดไขมันที่จมูก

เพราะว่าการกด บีบ เค้นอาจจะเข้าไปสร้างความระคายเคืองให้กับผิวในบริเวณนั้นมากขึ้น จนอาจจะทำให้ไขมันตรงจมูกนั้นเกิดอักเสบลุกลามนูนขึ้นมาเป็นเม็ดสิวได้ และยิ่งทำให้ไขมันบริเวณจมูกขยายวงกว้างบนผิวไปมากยิ่งขึ้น

ข้อสรุปของไขมันที่จมูก 

แม้ไขมันที่จมูกจะไม่ใช่ประเภทเดียวกับสิว แต่ก็มีต้นตอของสาเหตุการเกิดคล้าย ๆ กัน ก็คือความมันของใบหน้า ดังนั้นในการดูแลผิวไม่ให้เกิดปัญหาไขมันที่จมูกตามมา คือต้องรักษาสมดุลของน้ำมันกับผิวให้สมดุล เพื่อผิวจะได้ไม่มีความมันมากจนเกินไป จนเกิดการสะสมของไขมันตามในท่อไขมัน และรูขุมขนนั่นเอง

Karthik Kumar (Jul 10, 2021).Can You Get Rid of Sebaceous Filaments?. Medicinenet. https://www.medicinenet.com/can_you_get_rid_of_sebaceous_filaments/article.htm