Key Takeaway

  • ผื่นคันขึ้นตามตัวเกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ กรรมพันธุ์และสภาวะจิตใจ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ของใช้ อาหาร เครื่องแต่งกาย สภาพแวดล้อม และฤดูกาล
  • โรคผื่นคันแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก คือ ผื่นคันทั่วไป ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นลมพิษ และผื่นแพ้สัมผัส 
  • อาการที่ควรพบแพทย์ทันที ได้แก่ หายใจติดขัด ผื่นขึ้นเฉียบพลันพร้อมมีไข้ มีแผลพุพอง และมีหนองออกจากแผล
  • การป้องกันทำได้ 4 วิธีหลัก คือการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อ่อนโยน และรักษาสุขอนามัยโดยล้างมือสม่ำเสมอ

 



 อาการภูมิแพ้กำเริบ อาจทำให้เกิดภาวะผิวหนังเป็นผื่นขึ้นตามตัว เป็นรอยตุ่มแดง หรือผดผื่นเล็กๆ ที่ส่งผลให้ผิวดูไม่เรียบเนียน ทั้งยังส่งผลให้เกิดรอยแผลเป็นได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง แล้วลักษณะอาการผื่นคัน ผื่นแดง และผื่นขึ้นตามตัวเกิดจากอะไร? บทความนี้จะไขข้อข้องใจให้คุณ! มาเรียนรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นคันแบบเจาะลึก พร้อมวิธีดูแลผิวแพ้ง่าย เพื่อผิวสุขภาพดีไร้รอยแดง
 

ผื่นขึ้นตามตัว ปัญหารำคาญใจของใครหลายๆ คน

ภาวะผื่นขึ้นตามตัว (Skin Rash) คือ ผิวหนังที่บังเอิญถูกกระตุ้นจากการสัมผัส การรับประทาน การสูดดม หรือปัจจัยทางพันธุกรรม ที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง ทำให้สภาพผิวหนังเกิดอาการอักเสบ โดยลักษณะทางกายภาพจะเป็นผดขึ้นตามตัวเม็ดเล็กๆ เป็นตุ่มน้ำใส หรือเกิดตุ่มแดงขึ้นตามตัวคันตามทั่วร่างกาย

ซึ่งหากปล่อยอาการผื่นขึ้นตามตัวไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะก่อให้เกิดอาการคัน ระคายผิว จนผิวหนังลอกออกมาเป็นขุย ผื่นเม็ดเล็กๆ ขึ้นตามตัวเรื่อยๆ จนกลายเป็นผื่นขึ้นตามตัวเรื้อรังได้
 

อาการผื่นขึ้นตามตัว ผื่นแดงคัน เกิดจากสาเหตุใด

ต้นเหตุที่ทำให้เกิดผื่นคัน จนนำไปสู่สภาวะลมพิษผื่น เกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้
 

ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดผื่นขึ้นตามตัว

กรรมพันธุ์

หากภายในครอบครัวมีผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น มีอาการเยื่อบุตาอักเสบ แพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หรือหอบหืด ก็มีแนวโน้มที่ลูกหลานจะมีผิวที่ไวต่อการเกิดผื่นภูมิแพ้ได้มากกว่าปกติ
 

สภาวะจิตใจ

หากสภาพจิตใจแปรปรวน มีภาวะความเครียดสะสม จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติ จนมีอาการคันยุบยิบตามตัว มีผื่นตามผิวหนัง นำไปสู่โรคผิวหนังกำเริบได้
 

ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดผื่นขึ้นตามตัว

ของใช้จิปาถะ

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่น สบู่ โลชัน เซรั่ม ครีมบำรุงผิว หรือแม้กระทั่งผงซักฟอกที่ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าห่ม มักมีสารเคมีประกอบที่มีฤทธิ์ละลายคราบไขมัน เมื่อสัมผัสกับร่างกาย อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายผิว จนผื่นขึ้นตามตัว และมีตุ่มแดงคันขึ้นตามตัว
 

อาหาร

ผู้ที่มีอาการลมพิษจากการแพ้อาหาร อาจทำให้ผิวหนังมีผื่นขึ้นตามตัว จนกำเริบลามไปถึงระบบหายใจให้เกิดภาวะหอบหืด โดยส่วนใหญ่อาหารแสลงที่คนไทยส่วนใหญ่จะแพ้ จะมีดังนี้

  • เนื้อสัตว์: เช่น หมู วัว โปรตีนจำพวกไข่
  • อาหารทะเล: เช่น กุ้ง ปู ปลาหมึก 
  • วัตถุดิบจากนมวัว: เช่น นม ชีส เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม
  • ธัญพืชตระกูลถั่ว: เช่น อัลมอนด์ แมคคาเดเมีย วอลนัท เมล็ดสน
     

เครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกายที่ทำจากหนังสัตว์ ทอจากขนสัตว์แท้ เช่น ขนแกะ ขนวัว หรือทอจากใยสังเคราะห์ เช่น โพลีเอสเตอร์ เรยอน ไนลอน ยาง สแปนเดกซ์ เป็นต้น จะมีรูระบายอากาศไม่ดี ทำให้เหงื่อสะสม เกิดภาวะอับชื้น เป็นคราบสกปรก ก่อให้ผิวเกิดการระคายผิว จนเกิดภาวะแพ้เหงื่อตัวเอง ผื่นขึ้นตามตัว และเกิดจุดแดงรอบๆ
 

สภาพแวดล้อมปัจจุบัน 

สภาวะอากาศร้อนอบอ้าว หนาว หรือชื้นมากเกินไป อาจทำให้ผิวหนังเกิดภาวะแพ้แบบฉับพลัน และการสัมผัสกับไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดผื่นขึ้นตามตัวเช่นกัน
 

ฤดูกาล 

ในช่วงฤดูหนาว ผิวหนังจะแห้งเป็นพิเศษ ก่อให้เกิดอาการคันผิวหนังจนลอกออกมาเป็นขุย ส่วนช่วงฤดูฝนอากาศจะชื้น ทำให้เหงื่อไม่ได้รับการระบายที่ดีอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้นตามตัว และส่วนฤดูร้อนเหงื่อจะออกเยอะปานกลางจนไปถึงมาก อาจมีผื่นคัน ระคายผิว เป็นลมพิษ

 

ภาวะแทรกซ้อนหากมีอาการผื่นขึ้นตามตัว

หากปล่อยอาการลมพิษ ตุ่มแดง ผดผื่นขึ้นตามตัวไว้โดยไม่ทำการรักษาให้หายสนิท จะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้
 

ภาวะแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) 

ผู้ป่วยจะมีภาวะแพ้แบบเฉียบพลันหลังจากสัมผัสสิ่งที่กระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้ ลักษณะทางกายภาพจะมีอาการบวม มีผื่นขึ้นตามตัวตามบริเวณทั่วร่างกาย มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ทางเดินหายใจอุดตัน มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน รวมไปถึงอาการความดันต่ำจนหน้ามืด เกิดภาวะช็อก นำไปสู่การเสียชีวิตทันที

สิ่งที่จะบรรเทาภาวะแพ้รุนแรงเฉียบพลันได้ คือ การฉีดยาอะดรีนาลิน (Epinephrine injection) กับแพทย์เท่านั้น
 

การติดเชื้อโรคทางแผลผิวหนัง (Dermatitis Infection) 

ลักษณะตุ่มแดง ผดผื่นผิวหนังตามตัว หรือตุ่มน้ำใส ที่เกิดเป็นแผลเปิดออก อาจทำให้เชื้อโรค แบคทีเรีย เข้าสู่บริเวณแผลในชั้นผิวหนังได้

โรคผื่นขึ้นตามตัวทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 โรคตามผิวหนัง ดังนี้  

ผื่นคันทั่วไป (Generalized Rash)

สาเหตุ

  • ผื่นแพ้อากาศตามลมฤดูกาล โดยเฉพาะฤดูหนาว จะพัดเกสรดอกไม้ ฝุ่น PM2.5 ขึ้นมาในอากาศ จนอาจให้เกิดรอยผื่นคันตามตัว เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ ที่ทำลายสารแอนติออกซิแดนซ์ภายในผิวหนังให้มีปริมาณน้อยลง
  • ภาวะอากาศแห้งทำให้เกิดอาการคันเนื้อคันตัวจนเป็นผื่นคันผดเล็กๆ หรือตุ่มแดง ตามแนวข้อศอก แขน ขา และตามคอ
     

วิธีดูแลเบื้องต้น

  • อาบน้ำอุณหภูมิปกติ ยิ่งน้ำเย็นยิ่งดีจะช่วยให้ผิวหนังได้รับความชุ่มชื้น เพราะการอาบด้วยน้ำอุ่นจะทำให้ผิวหนังแห้งกร้าน ก่อให้เกิดการระคายผิวสูง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่อ่อนโยนต่อผิว มีค่าความเป็นกรด-ด่างสมดุล
  • ใช้ครีมบำรุงผิวสูตรเพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ใช้สารน้ำหอมระเหย เพื่อลดอาการผื่นขึ้นตามตัว ผิวหนังอักเสบ รวมไปถึงอาการระคายผิว และยังช่วยบำรุงสุขภาพผิว เติมคอลลาเจนสู่ผิวกายให้มีความเต่งตึง

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)
 

สาเหตุ

  • ผื่นขึ้นตามตัว และอาการคัน เกิดจากการที่ผิวหนังได้รับการสัมผัสไรฝุ่น ฝุ่นละออง หรือสารเคมีที่มีมลภาวะต่อผิวหนังสูง
  • ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง ฮอร์โมนคอร์ติโคสตีรอยด์ (Corticosteroids) และฮอร์โมนต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) มีการทำงานที่แปรปรวน จนทำให้ผิวหนังเกิดภาวะผื่นขึ้นตามตัว เป็นลมพิษตามผิวหนัง
  • ภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง
  • ผิวหนังแห้งกร้าน เกิดการระคายผิวจนผิวหนังอักเสบ ตุ่มแดงขึ้นตามตัว ไม่คัน ไม่มีไข้
     

วิธีดูแลเบื้องต้น

  • อาบน้ำทันทีเพื่อชำระคราบฝุ่นและเหงื่อออก
  • สวมใส่เสื้อผ้าสบายตัว ไม่ควรใส่เสื้อที่รัดรูป เสี่ยงการเสียดสีระหว่างผ้าและผิว ที่ก่อให้เกิดอาการผื่นคัน
  • ทาครีมบำรุงผิวจำพวก โลชั่นเซรั่ม หลังอาบน้ำอย่างสม่ำเสมอ

ทานยาแก้แพ้จำพวกกลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน (Antihistamines) ที่ช่วยบรรเทาอาการคัน ลมพิษ ผื่นขึ้นตามตัวแบบเบื้องต้น

ผื่นลมพิษ (Urticaria)

สาเหตุ

  • ร่างกายเกิดภาวะปฏิกิริยาภูมิแพ้ทันที หลังจากสัมผัส รับประทาน สูดดม เช่น อาหาร ยา การสวมใส่เสื้อหนังสัตว์ หรือการดมเกสรดอกไม้ เป็นต้น

วิธีดูแลเบื้องต้น

  • ทานยาแก้แพ้จำพวกกลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน (Antihistamines) ที่ช่วยบรรเทาอาการคัน ลมพิษ ผื่นขึ้นตามตัวแบบเบื้องต้น
  • ทาครีมบำรุงประเภท โลชั่นที่ไร้น้ำหอม
  • ทาคาลาไมน์เพื่อลดอาการคัน ระคายผิว และมีรอยผื่นขึ้นตามตัว
  • ห้ามแกะ เกา ขูด กับบริเวณผิวหนังที่มีผื่นเด็ดขาด เนื่องจากยิ่งเกามากจะทำให้ผื่นแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่นำไปสู่ภาวะผื่นลมพิษ
     

อ่านเพิ่มเติม : บอกลาผื่นลมพิษ 9 วิธีดูแลผื่นลมพิษ เคล็ดลับดูแลผิวให้สุขภาพดีอีกครั้ง

ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis)

สาเหตุ

  • เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์จำพวกสบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง และครีมบำรุงผิว ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายต่อผิวหนังทันที

วิธีดูแลเบื้องต้น

  • งดการใช้ของจิปาถะที่ก่อให้เกิดภาวะผื่นขึ้นตามตัว มีตุ่มแดง และผดเล็กๆ
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ ไม่ใส่สารน้ำหอมระเหย และสารเคมีประกอบ
  • ใช้โลชั่นที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างสมดุล
  • ทานยาแก้แพ้จำพวกกลุ่มสเตียรอยด์ในกรณีที่มีจุดแดงขึ้นตามตัวไม่คัน แต่หากมีผื่นคันให้ทานยาแก้แพ้ร่วม

 

วิธีรักษาอาการผื่นขึ้นตามตัว

การรักษาอาการผื่นขึ้นตามตัวที่สร้างความระคายผิวแบบเบื้องต้น สามารถบรรเทาอาการด้วย 5 วิธีรักษา ดังนี้

  • การทานยาแก้แพ้ ชนิดทั่วไป ลดอาการคัน แสบผิว และระคายผิวระยะเริ่มต้น
  • การทาครีมลดผิวหนังอักเสบ ชนิด คอร์ติโซน (Cortisone) ช่วยลดสภาวะผิวหนังอักเสบ และอาการแพ้และคันทั่วร่างกาย
  • การอาบน้ำด้วยข้าวโอ๊ต การแช่น้ำอุ่นและอาบด้วยครีมข้าวโอ๊ตคอลลอยด์ จะช่วยบรรเทาอาการผื่นขึ้นตามตัวโดยเฉพาะผิวหนังที่แห้งกร้านได้ดี
  • การใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ หากการทานยาแก้แพ้ไม่ได้ผล แพทย์อาจรักษาด้วยยาจำพวกครีมสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของผิวหนัง หรือแบบยารับประทาน
  • ยารักษากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ยาชนิดนี้จะเป็นแบบครีมทาผิวที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันผ่านผิวหนัง เช่นครีมทาโครลิมัส (Crolimus) และครีมพิเมโครลิมัส (Pimecrolimus)
     

ผื่นขึ้นตามตัวรุนแรงขนาดไหนที่ควรพบแพทย์

ลักษณะอาการผื่นขึ้นตามตัวแบบไหน ที่ควรพบแพทย์ทันที จะมี 4 อาการเสี่ยงดังนี้

  • หายใจแรง หายใจติดขัด
  • ผื่นขึ้นตามตัวเฉียบพลันและแพร่กระจายทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว หรือมีไข้ร่วมด้วย
  • มีรอยแผลพุพอง ตุ่มน้ำใส สะเก็ดแตกเป็นแผลเปิด
  • แผลรอยผื่นขึ้นตามตัวมีหนองสีเหลืองออกมา

 

การวินิจฉัยของแพทย์ มีแบบไหนบ้าง

การพิสูจน์ของแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง จะใช้การวินิจฉัย 3 วิธีดังนี้

  • การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy): แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อก้อนเล็กจากผิวหนังและเนื้อเยื่อ เพื่อทำการพิสูจน์หาเชื้อไวรัส แบคทีเรียในตัวอย่างก้อนเนื้อ
  • การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergy test): ได้แก่ การทำทดสอบสารภูมิแพ้ในอากาศ (Skin Prick Test) คือการใช้น้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ มาทดสอบผิวหนังผู้ป่วย เหมาะกับการพิสูจน์ภูมิแพ้ประเภทลมพิษเป็นอย่างมาก
  • การตรวจเลือด (Blood tests): เป็นการตรวจโรคผิวหนังที่ดูจากแอนติบอดีที่ไหลเวียนในเลือดในระบบอวัยวะส่วนอื่นๆ

 

4 วิธีดูแลและป้องกันผื่นขึ้นตามตัวดังกล่าว

โดยทั่วไป ผู้ที่มีภาวะอาการผื่นขึ้นตามตัว สามารถดูแลรักษาตัวเองด้วย 4 วิธี ดังนี้
 

1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และระคายผิวหนัง

ผู้ที่มีผื่นขึ้นบ่อยๆ สามารถบรรเทาอาการผื่นขึ้นตามตัวได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสถานที่ งดรับประทานอาหาร หรือแตะต้องสิ่งที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้นมา เพื่อให้ร่างกายชะลออาการและช่วยควบคุมโรคผื่นขึ้นตามตัวได้
 

2. ไม่ใช้สิ่งของหรือเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น

เพราะการใช้สิ่งของกับเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น เราจะไม่รู้ว่าสารทำความสะอาดอย่างน้ำยาซักผ้า ผงซักฟอก อาจก่อให้เกิดอาการผื่นแพ้เสื้อผ้า ที่ระคายผิวหนังคุณได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดผื่นขึ้นตามตัว ให้คุณใช้เสื้อผ้าและสิ่งของของตัวเอง แล้วใช้สารล้างคราบสกปรกที่อ่อนโยนเหมาะสมกับผิวตัวเองจะดีที่สุด
 

3. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยนต่อผิวหนัง

ผู้ที่มีผิวหนังบอบบาง แพ้ง่าย ไวต่อครีมบำรุงผิวหนังที่มีสารเคมีกับน้ำหอมระเหยประกอบสูง ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสูตรอ่อนโยนสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย เพื่อรักษาสภาพผิวของตนเองให้มีความชุ่มชื้น ช่วยให้ผิวมีสุขภาพที่ดี มีความยืดหยุ่น พร้อมบำรุงปราการผิวให้แข็งแรงอยู่เสมอ
 

4. ล้างมือทำความสะอาดทันทีหลังจากพบกับผู้ป่วยโรคผิวหนัง

หลังจากเยี่ยมพบผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนัง ให้ล้างมือทำความสะอาดพร้อมสบู่ทันที เพื่อป้องกันสุขอนามัยที่ดี เนื่องจากมือเป็นอวัยวะที่ถูกการสัมผัสมากที่สุด และโรคผิวหนังสามารถเป็นโรคติดต่อได้ ดังนั้น กันไว้ดีกว่าแก้ ควรล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

 

สรุป

ผื่นขึ้นตามตัว เป็นลักษณะอาการที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันผิวหนังบกพร่องจากร่างกายของตนเอง สามารถบรรเทาอาการด้วยการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กำเริบ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายที่อ่อนโยนและช่วยเติมความชุ่มชื้นให้ผิวด้วยการทาครีมที่ปราศจากแอลกอฮอล์ น้ำหอมระเหย หากรักษาอาการเบื้องต้นด้วยการทานยาแก้แพ้แล้วผื่นขึ้นตามตัวยังไม่หาย ควรนัดพบแพทย์ทันที

ผื่นคันเป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อย มาดูคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผื่นคันและคำตอบที่จะช่วยให้เข้าใจอาการนี้มากขึ้น ดังนี้

ผื่นคันที่มาพร้อมอาการมีไข้สูง หนาวสั่น หายใจลำบาก หรือหายใจมีเสียงวี้ด รวมถึงผื่นขึ้นทั่วตัวอย่างรวดเร็ว มีอาการบวมที่ใบหน้า ลิ้น หรือลำคอ และมีผื่นพองเป็นตุ่มน้ำขนาดใหญ่

ผื่นคันตามตัวมีหลายสาเหตุ เช่น อาจจะเป็นลมพิษ ผื่นแพ้ผิวหนัง (eczema) ผื่นแพ้สัมผัส โรคผิวหนังอักเสบ หรือการติดเชื้อ เช่น อีสุกอีใส งูสวัด 

โดยทั่วไปแล้ว ผื่นคันมักจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ แต่ระยะเวลาที่ผื่นคันจะหายขึ้นไปนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นและความรุนแรงของอาการด้วย

ผื่นคันที่เกิดขึ้นเฉพาะกลางคืน อาจจะเกิดจากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น หรือผิวแห้งจากเครื่องปรับอากาศ

การเกาทำให้เกิดการระคายผิวเพิ่ม พร้อมกับทำลายผิวหนังชั้นนอก มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อ

ความเครียดส่งผลต่อผิวหนังโดยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนความเครียด ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ และเพิ่มการอักเสบในร่างกาย

การนอนดึกส่งผลให้การฟื้นบำรุงผิวหนังลดลง และระดับฮอร์โมนเสียสมดุล มีส่วนทำให้ผื่นขึ้นตามตัวได้