Key Takeaway

  • สิวคือการอักเสบของรูขุมขนที่เกิดจากการอุดตันของไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
  • ประเภทของสิว เช่น สิวอุดตัน สิวอักเสบ สิวหัวหนอง สิวหัวดำ และสิวหัวขาว
  • วิธีดูแล เพื่อลดโอกาสการเกิดสิว เช่น การใช้ยาทาสิว ทานยาปฏิชีวนะ การทำเลเซอร์ หรือการปรับพฤติกรรมการดูแลผิว
  • วิธีลดโอกาสการเกิดสิว เช่น ล้างหน้าบ่อยๆ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผิว หลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้าบ่อยๆ และทาครีมกันแดด
     

สิวคือปัญหาผิวที่หลายคนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สิ่งสกปรกสะสม หรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การเข้าใจประเภทของสิวและวิธีการดูแลอย่างถูกต้องจะช่วยให้ผิวฟื้นตัวและกลับมาเรียบเนียนได้เร็วขึ้น

สิวเกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันในรูขุมขน โดยปกติไขมันที่สร้างจากต่อมไขมันจะถูกปล่อยออกมาผ่านรูขุมขน แต่เมื่อทางเดินเกิดการอุดตัน จะทำให้เกิดสิวอุดตัน ซึ่งจะปรากฏเป็นตุ่มเล็กๆ ที่มีลักษณะเป็นไตสีขาวในนั้น หากมีปัจจัยกระตุ้นเพิ่มเติม เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย ก็อาจทำให้เกิดการอักเสบ และหากสิวอักเสบมากขึ้น ก็อาจกลายเป็นสิวหัวช้าง หรือซีสต์ได้

สิวเกิดจากหลายสาเหตุหลักที่สามารถกระตุ้นให้เกิดปัญหาผิวได้ ดังนี้
 

รูขุมขนอุดตัน

รูขุมขนอุดตันเกิดจากการที่เซลล์หนังกำพร้าชั้นนอกสุดหนาตัวขึ้นผิดปกติ ซึ่งเกิดจากกระบวนการผลัดเซลล์ผิวที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดการสะสมของเซลล์ผิวและไขมันในรูขุมขน ส่งผลให้เกิดการอุดตันและเป็นต้นเหตุของการเกิดสิวอุดตันขนาดเล็กขึ้น
 

ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป

ปกติแล้ว ต่อมไขมันจะผลิตไขมันเพื่อหล่อเลี้ยงผิวหนังในปริมาณที่เหมาะสมและมีส่วนประกอบที่สมดุล แต่ในผู้ที่เป็นสิวจะเกิดความผิดปกติในส่วนประกอบของไขมันที่ผิวหนัง และการสะสมของไขมันในรูขุมขนที่อุดตันจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดสิว

 

เชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes (C.acnes)

เชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes (C.acnes) หรือที่เคยเรียกว่า Propionibacterium acnes (P.acnes) เป็นเชื้อที่เจริญเติบโตและอาศัยอยู่ในรูขุมขน ในผู้ที่เป็นสิว การสะสมของเซลล์ผิวหนังและไขมันที่อุดตันในรูขุมขนจะสร้างแหล่งอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียนี้ ส่งผลให้เชื้อมีจำนวนเพิ่มขึ้นและทำให้เกิดสิวในที่สุด
 

รูขุมขนอักเสบ

เมื่อมีการสะสมของเซลล์ผิวหนัง ไขมัน และเชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes ในรูขุมขนมากขึ้น สิวอุดตันจะเริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้น จนทำให้สิวแตกออกสู่ผิวหนังบริเวณข้างเคียง และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ส่งผลให้เกิดสิวอักเสบที่มีอาการปวด บวม และเมื่อกดจะเจ็บ

สิวสามารถแบ่งประเภทได้หลายรูปแบบตามลักษณะการเกิดและความรุนแรง ดังนี้ 

 

สิวอักเสบ

สิวอักเสบประเภทนี้มักเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนที่มีการสะสมของเซลล์ผิวหนัง ไขมัน และเชื้อแบคทีเรีย จนทำให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อในรูขุมขน ซึ่งสิวอักเสบสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่

  • สิวตุ่มแดง สิวที่พัฒนาจากสิวอุดตันมีลักษณะเป็นตุ่มสิวแดงขนาดเล็กที่อักเสบบนผิวหนังชั้นตื้น โดยไม่เกิดหนองหรือการอักเสบลึก สามารถบรรเทาด้วยยาทาภายนอกและยาปฏิชีวนะหรือยาคุมกำเนิดในเพศหญิง
     
  • สิวยีสต์ เกิดจากเชื้อราประเภท Malassezia ซึ่งเป็นเชื้อราที่พบได้ปกติในผิวหนังและสามารถทำให้เกิดการอักเสบในรูขุมขนได้
     
  • สิวหัวหนอง สิวหัวหนองเกิดจากการอักเสบของสิวอุดตัน มีหนองตรงกลางและสีแดงรอบๆ เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ สามารถบรรเทาด้วยยาทาภายนอก ยาปฏิชีวนะแบบทาน หรือยาคุมกำเนิดในเพศหญิงเช่นเดียวกับสิวตุ่มแดง
     
  • สิวฮอร์โมน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น เทสโทสเตอโรนในวัยรุ่น โดยเฉพาะช่วงก่อนและหลังรอบเดือน ซึ่งกระตุ้นการผลิตน้ำมันจากต่อมไขมัน ทำให้เกิดสิวอุดตันได้ง่ายขึ้น
     
  • สิวไม่มีหัว เกิดจากสิวอุดตันที่ระคายผิว ทำให้เกิดอาการบวม แดง และอักเสบ โดยไม่มีหัวสิวปรากฏออกมา
     
  • สิวอักเสบขนาดใหญ่ คือสิวที่มีการอักเสบอย่างรุนแรง โดยมีลักษณะเป็นตุ่มหนองใหญ่ บวมและเจ็บ เกิดจากการติดเชื้อและการสะสมของไขมันในรูขุมขน
     
  • สิวหัวช้าง คือสิวอักเสบชนิดรุนแรง มีลักษณะเป็นก้อนตุ่มนูนแดงแข็ง ขนาดใหญ่ ภายในมีหนองผสมเลือด
     
  • สิวซีสต์ ที่หลายคนเคยได้ยินกันคือสิวอักเสบชนิดรุนแรงที่มีลักษณะเป็นก้อนนูนลึกใต้ผิวหนัง มักมีขนาดใหญ่และเจ็บ มีหนองสะสมภายใน ปัจจุบันการแพทย์แยกสิวและซีสต์เป็นโรคคนละชนิด จึงเลิกใช้คำว่าสิวซีสต์แล้ว
     

สิวไม่อักเสบ

สิวประเภทนี้มักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น การอุดตันของรูขุมขนจากไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การสะสมของเชื้อแบคทีเรีย พฤติกรรมการดูแลผิวที่ไม่เหมาะสม และการใช้ยาสเตียรอยด์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดสิวสเตียรอยด์ได้

  • สิวหัวขาว เป็นสิวที่หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็น มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก สีขาวหรือครีม อยู่ใต้ผิวหนัง หากไม่ดูแลรักษาอาจลุกลามเป็นสิวอักเสบหรือสิวเรื้อรังได้
     
  • สิวหัวดำ คือสิวที่มองเห็นก้อนเคราติน ไขมัน และแบคทีเรียสะสมอยู่ มีลักษณะเป็นหัวแบนหรือโผล่เล็กน้อย ซึ่งอาจเกิดการออกซิเดชันทำให้เป็นสีดำ
     
  • สิวข้าวสาร สิวสีขาวไข่มุกขนาดเล็ก เกิดจากการอุดตันของโปรตีนผิวหนังหรือเคราตินในชั้นใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นก้อนเล็กๆ สีขาว
     
  • สิวเป็นไต ลักษณะเป็นตุ่มแข็งนูนขนาดเล็ก ไม่มีหัวหรือการอักเสบ มักไม่มีอาการเจ็บร่วม และมีลักษณะคล้ายกับสิวที่เกิดจากการใช้ยาสเตียรอยด์
     
  • สิวผด หนึ่งในผื่นที่เกิดจากแสงแดดคือการที่รังสี UVA กระตุ้นให้เกิดตุ่มเล็กๆ คล้ายสิวอุดตันหัวปิด หรือบางครั้งอาจเป็นตุ่มแดงคล้ายสิวอักเสบ
     
  • สิวเสี้ยน เกิดจากการอุดตันของไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้วในรูขุมขน โดยมักมีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีดำหรือสีขาวที่เห็นชัดเจนบนผิวหน้า บางครั้งอาจทำให้รูขุมขนดูใหญ่ขึ้น และพบได้บ่อยบริเวณจมูก คาง หรือหน้าผาก
     
  • สิวหิน เป็นเนื้องอกชนิดดีของต่อมเหงื่อ มีลักษณะเป็นตุ่มสีเนื้อ แข็ง และไม่สามารถบีบออกได้ มักพบบริเวณรอบๆ ตา

บริเวณที่มักเป็นสิวมักจะเป็นบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก รวมถึงบริเวณที่มีการผลิตน้ำมันมากเกินไป เช่น

หน้าผาก

หน้าผากเป็นบริเวณที่มักเกิดสิวก่อนส่วนอื่น เนื่องจากเหงื่อและสิ่งสกปรกสะสมง่าย รวมถึงปัจจัยจากความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ การไว้ผมหน้าม้า หรือการใส่หมวกและผ้าคาดศีรษะก็สามารถกระตุ้นการเกิดสิวได้
 

คาง

บริเวณคางมักเกิดสิวได้ง่าย เพราะเป็นส่วนที่ผลิตน้ำมันมากกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า T-zone ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เป็นสิวที่คาง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รับประทานนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม สัมผัสคางบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย หรือการเสียดสีที่ทำให้เกิดการอุดตันและติดเชื้อแบคทีเรีย
 

แก้ม

สิวที่แก้มมักเกิดจากการสัมผัสสิ่งสกปรกและการทำความสะอาดไม่ทั่วถึง เช่น การสัมผัสกับหมอน เส้นผม กรอบแว่น หรือโทรศัพท์ นอกจากนี้ยังเกิดจากน้ำมันส่วนเกินและการผลัดเซลล์ผิวที่ผิดปกติด้วย
 

รอบริมฝีปาก

สิวที่ปากมักเกิดบริเวณรอบๆ ริมฝีปาก เนื่องจากสิ่งสกปรกที่มาจากการทานอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดสิวหากไม่รักษาความสะอาดให้ดี นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการแพ้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ยาสีฟัน ลิปสติก น้ำยาบ้วนปาก หรือการใส่หน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน
 

คอ

สิวที่คอมักเกิดจากสิ่งสกปรกที่สะสมจากเส้นผม โดยเฉพาะหากไว้ผมยาวและปล่อยผม เพราะเส้นผมสามารถทำให้ผิวหนังคออับและเหงื่อไคลสะสมได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการแพ้ยาสระผมหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้กับเส้นผมและหนังศีรษะ
 

แผ่นหลัง

สิวที่หลังเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ความมันบนผิวหนัง การผลัดเซลล์ผิวที่ผิดปกติ การสะสมของเชื้อแบคทีเรีย การอักเสบ และการเติบโตของยีสต์หรือเชื้อราจากเหงื่อไคล สิ่งสกปรก และน้ำมัน ซึ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการเติบโตของเชื้อเหล่านี้และทำให้เกิดสิวได้ง่าย 

การดูแล ลดโอกาสการเกิดสิวมีหลายวิธีที่สามารถเลือกใช้ตามประเภทและความรุนแรงของสิว รวมถึงสภาพผิวของแต่ละบุคคล โดยวิธีลดโอกาสการเกิดสิวที่นิยมใช้มีดังนี้

รักษาสิวด้วยยาทาเฉพาะที่

การเลือกใช้ยาดูแล บรรเทาการเกิดสิวขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของสิวแต่ละชนิด โดยแต่ละยาเหมาะสมกับการบรรเทาการเกิดสิวในระดับต่างๆ เช่น

  • ยาทาเรตินอยด์ สามารถลดการอุดตันและต้านการอักเสบได้ จึงบรรเทาทั้งสิวอุดตันและสิวอักเสบ แต่มีผลข้างเคียง เช่น ผิวแห้ง ระคายผิว และไวต่อแสง ควรทาครีมกันแดดในตอนกลางวันขณะใช้
     
  • ยาปฏิชีวนะชนิดทา Erythromycin, Clindamycin, และ Metronidazole มักใช้ร่วมกับ Benzoyl peroxide หรือยาบรรเทาการเกิดสิวอื่นๆ เพื่อลดการดื้อยาและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล
     
  • กรดอะเซลาอิกและกรดซาลิไซลิก กรดธรรมชาติช่วยลดการอุดตัน ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และผลัดเซลล์ผิว ลดการเกิดสิวและรอยดำจากสิวได้
     
  • ซัลเฟอร์ หรือกำมะถันช่วยสลายสิวหัวดำและสิวหัวขาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     

ยารักษาสิวแบบรับประทาน

ยาแต่ละชนิดจะเหมาะสมกับความรุนแรงและประเภทของสิวที่แตกต่างกัน โดยการเลือกใช้ยาจะขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของสิวที่เป็น

  • ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดสิว
     
  • ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน ช่วยชะลอหรือหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและลดการอักเสบ โดยแพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานร่วมกับชนิดทาภายนอกสำหรับสิวที่มีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรง เช่น สิวอักเสบชนิดรุนแรงหรือสิวเรื้อรัง
     
  • ฮอร์โมนต้านฤทธิ์แอนโดรเจน เป็นยาต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนสำหรับผู้หญิง ช่วยลดผลกระทบของฮอร์โมนแอนโดรเจนที่มีผลต่อการทำงานของต่อมไขมันใต้ผิวหนัง
     
  • ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามิน A ช่วยลดโอกาสการเกิดสิวโดยการกินเข้าไปเพื่อเปิดรูขุมขนให้ยาชนิดอื่นๆ เช่น ยาปฏิชีวนะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดโอกาสการเกิดสิวใหม่และลดเลือนแผลเป็นจากสิว

 

รักษาสิวด้วยวิธีบำบัด

การลดโอกาสการเกิดสิวด้วยวิธีบำบัดเป็นการบรรเทาที่มักใช้ในกรณีที่สิวมีความรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อการดูแล บรรเทาทั่วไป ได้แก่

  • กดสิว แพทย์อาจพิจารณาการกดสิวเพื่อช่วยเรื่องภาพลักษณ์ในกรณีที่สิวไม่หายด้วยยาทาเฉพาะที่ แต่การกดสิวอาจทำให้เกิดแผลเป็นและต้องการการบำบัดผิวเพิ่มเติม
     
  • สารเคมีผลัดเซลล์ผิว เป็นการบำบัดด้วยสารเคมีเพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่
     
  • ฉายแสง LED เป็นการฉายแสง LED ความเข้มสูงที่ช่วยกระตุ้นการฟื้นบำรุงของเซลล์ผิวและลดเลือนริ้วรอย
     
  • ทำเลเซอร์ มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้ยา ช่วยให้สิวยุบเร็ว ลดโอกาสการเกิดรอยแดง ฆ่าเชื้อ P. acnes ลดการอักเสบ และยังช่วยลดโอกาสการเกิดรอยดำ หลุมสิว รวมถึงรอยแผลเป็นจากสิวได้ด้วย
     
  • ฉีดสเตียรอยด์ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาฉีดสเตียรอยด์เพื่อช่วยลดการอักเสบของสิวอักเสบชนิดรุนแรง โดยช่วยให้สิวยุบเร็วและลดความเจ็บปวด แต่มีผลข้างเคียงคือทำให้ผิวบางและสีผิวเข้มขึ้นบริเวณที่ฉีด

มีวิธีง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้เพื่อลดโอกาสการเกิดสิว ทั้งการปรับพฤติกรรมการดูแลผิวและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น

  • ล้างหน้าให้สะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนต่อผิว และทาครีมบำรุงผิวสูตรอ่อนโยนสำหรับผิวแพ้ง่าย
     
  • อาบน้ำ ล้างหน้า และสระผมเป็นประจำเพื่อขจัดสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง และแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดสิว
     
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจระคายผิวหน้า เช่น สครับขัดผิว หรือมาสก์หน้าที่มีส่วนผสมของน้ำหอม
     
  • เลือกใช้เครื่องสำอางที่ปราศจากน้ำมันและมีส่วนผสมของครีมกันแดด หรือเลือกใช้เวชสำอางที่มีมอยส์เจอร์ไรเซอร์ เพื่อช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น
     
  • โกนหนวดอย่างระมัดระวัง โดยเลือกใช้ครีมโกนหนวดสูตรอ่อนโยนที่เหมาะสำหรับผิว
     
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูง
     
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน
     
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าโดยตรงด้วยมือที่ไม่สะอาด
     
  • ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
     
  • ควรทำจิตใจให้ผ่อนคลาย และหลีกเลี่ยงความเครียด
     

สรุป

สิวเกิดจากการอักเสบของรูขุมขนที่ถูกอุดตันด้วยไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ซึ่งมักเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน ฮอร์โมน ความเครียด การดูแลผิวที่ไม่เหมาะสม หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย สิวมักขึ้นที่ใบหน้า คาง หน้าผาก และหลัง วิธีลดโอกาสกาเกิดสิวประกอบด้วยการใช้ยาทาภายนอก ยาปฏิชีวนะ การปรับพฤติกรรมการดูแลผิว การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นการเกิดสิว และการดูแลด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น เลเซอร์ หรือการฉีดสเตียรอยด์

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับสิวเพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงสาเหตุ การดูแลผิว และวิธีการบรรเทาที่เหมาะสมมากขึ้น

หน้าเป็นสิวเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนที่เกิดจากการสะสมของไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ซึ่งทำให้เกิดการบล็อกทางออกของน้ำมันจากต่อมไขมัน ส่งผลให้เกิดการอักเสบและเกิดสิวในที่สุด

สิวเกิดจากปัญหาผิวที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล คนที่มีผิวแห้งหรือผิวบอบบางแพ้ง่ายอาจเกิดการระคายผิวได้ง่ายกว่า ขณะที่คนที่มีผิวมันอาจประสบปัญหาการอุดตันของรูขุมขนได้ง่ายขึ้น

สิวหัวหนองที่มีการอักเสบและติดเชื้อ ทำให้เกิดตุ่มบวมแดงขนาดใหญ่ พร้อมทั้งมีหนองอยู่ภายใน

ไม่ควรบีบสิว เพราะจะทำให้เชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าสู่ผิว เพิ่มโอกาสเกิดสิวและการอักเสบ

สิวเครียดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงที่เครียด ทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขนและอักเสบ

Bioderma ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม

ทำความสะอาดและบำรุงผิว

ผิวผสมถึงผิวเป็นสิวง่าย

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม (Sébium)

Bioderma ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม

ผิวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เนื่องจากผิวจะมีความหนามากขึ้น มันเงา เกิดสิวอักเสบเป็นจุดมากน้อยแตกต่างกันไป และบางครั้งก็ยังคงเป็นเช่นนั้นต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่อีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม (Sébium) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รังสรรค์ขึ้นเพื่อผิวมันและเป็นสิวง่ายโดยเฉพาะ
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม (Sébium) มีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลผิวที่แพทย์ผิวหนังแนะนำโดยเฉพาะ ทั้งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าสำหรับผิวมัน อย่างเจลล้างหน้าและไมเซล่า วอเตอร์ มอยส์เจอไรเซอร์สำหรับผิวเป็นสิวง่าย และอื่นๆ อีกมากมาย เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวประจำวันให้ตัวคุณเลย!