Key Takeaway

  • สิวที่คางเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ การแพ้ผลิตภัณฑ์ (แชมพู ยาสีฟัน ครีมโกนหนวด) ฮอร์โมน (โดยเฉพาะในช่วง PMS และฮอร์โมนแอนโดรเจนที่สูงผิดปกติ) พฤติกรรมการสัมผัสใบหน้า และมลพิษจากสภาพแวดล้อม
  • สิวที่คางแต่ละประเภทต้องการการรักษาที่แตกต่างกัน ได้แก่ สิวอักเสบ สิวอุดตัน สิวไม่มีหัว สิวผด และสิวฮอร์โมน โดยบางครั้งอาการที่คล้ายสิวอาจเป็นโรคผิวหนังอื่น เช่น ขนคุดหรือโรค Rosacea
  • การรักษาสิวที่คางมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีพื้นฐานจนถึงการรักษาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การทำความสะอาดผิวอย่างถูกวิธี การใช้ยาทาหรือยารับประทาน การฉีดยา และการรักษาด้วยเลเซอร์ IPL
  • การป้องกันสิวที่คางมี 3 วิธีหลัก คือ การรักษาความสะอาดของผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่ได้มาตรฐานและเหมาะกับสภาพผิว และการรักษาความชุ่มชื้นของผิวพร้อมควบคุมความมันส่วนเกิน

     


ปัญหาสิวทั่วบริเวณใบหน้า ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในบริเวณที่เป็นสิวที่พบได้มากอีกจุดหนึ่งคือสิวที่คาง สิวขึ้นคางเป็นปัญหาที่สามารถพบได้ในทุกสภาพผิว ทั้งผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย หรือผิวหน้ามัน สิวขึ้นคางสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่มักจะพบในวัยผู้ใหญ่มากกว่าในวัยรุ่น และพบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง หากรู้จักที่มีของสิวที่คางแล้วก็จะสามารถดูแลผิวเพื่อป้องกันการเกิดสิวขึ้นที่คางได้ดีขึ้น

เมื่อพูดถึงสิวที่คางแล้ว สาเหตุสิวขึ้นคางที่หลายๆ คนมักจะคิดถึงเป็นอันดับแรกมักเป็นอาการแพ้ต่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ เช่น แชมพูสระผม ยาสีฟัน หรือครีมโกนหนวด เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 อย่างนี้เมื่อใช้แล้วอาจเกิดการระคายผิวในขณะที่กำลังใช้ได้ หรือเกิดการตกค้างในบริเวณคางได้หากล้างไม่สะอาด เบื้องต้นจึงแนะนำให้รักษาสิวที่คางด้วยการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ให้มีความอ่อนโยนมากขึ้น และสังเกตดูว่าเมื่อเปลี่ยนแล้วยังมีสิวขึ้นเพิ่มในบริเวณดังกล่าวหรือไม่ มีการระคายผิวหรือไม่ รักษาตัวได้ดีขึ้นหรือไม่ 

หากลองเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้เกิดสิวที่คางแล้วยังไม่ดีขึ้น สิวขึ้นคางอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ได้ ดังนี้
 

1. อาการ PMS (Premenstrual Syndrome)

อาการ PMS หรือ Premenstrual Syndrome คือระยะเวลาช่วงก่อนประจำเดือนจะมาในแต่ละเดือน ในช่วงเวลาดังกล่าวระดับฮอร์โมนในร่างกายจะไม่คงที่ ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายแปรปรวน เช่น ฮอร์โมนแอสโตรเจนเพิ่มสูงขึ้น กระตุ้นการทำงานของรังไข่ และทำให้เกิดสิวขึ้นคางเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ได้ด้วย
 

2. ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) สูงกว่าปกติ

ฮอร์โมนแอนโดรเจน คือหนึ่งในฮอร์โมนเพศชายที่หากมีมากกว่าปกติก็ก่อให้เกิดสิวที่คางได้ เพราะฮอร์โมนเพศชายที่สูงขึ้นและขาดความสมดุลมักทำให้รูขุมขนกว้าง ผิวผลิตน้ำมันได้มากกว่าเดิม ผิวมัน เกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้น
 

3. ชอบบีบสิวและสัมผัสใบหน้า

สิวขึ้นคางอาจเกิดจากการสัมผัสบริเวณใบหน้าโดยไม่จำเป็นก็ได้ แม้ว่าจะล้างมือด้วยสบู่แล้วก็ควรหลีกเลี่ยงการจับบริเวณใบหน้าระหว่างวันโดยไม่จำเป็นเพราะนอกจากสิ่งสกปรกบนมือของเราแล้ว การสัมผัสใบหน้าอาจก่อให้เกิดการระคายผิวได้ รวมถึงการแคะ แกะ เกา และการบีบสิว สามารถทำให้ผิวเกิดการอักเสบได้ด้วยเช่นกัน

ช่วงคางและบริเวณกรอบหน้าเป็นบริเวณที่ผิวได้รับการเสียดสีค่อนข้างบ่อยจากการใส่แมสก์ จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสที่อาจทำให้ระคายผิว และงดการบีบสิวเพื่อลดโอกาสผิวเกิดการระคายผิวหรืออักเสบได้
 

4. มลพิษจากสภาวะแวดล้อม ฝุ่นและมลภาวะต่างๆ

สิวที่คางเกิดจากมลภาวะภายนอกหลายปัจจัยได้ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นจากล้อรถกับถนน ฝุ่น PM2.5 ฝุ่นจากเกสรดอกไม้หรือพืช ความชื้นในอากาศและลมที่อาจพัดนำเชื้อโรคต่างๆ มาสัมผัสกับผิวได้ หลายคนอาจพบว่าในช่วงที่ระดับ PM 2.5 พุ่งขึ้นสูง จะมีสิวขึ้นเยอะเป็นพิเศษ เป็นเพราะมลภาวะเหล่านั้นเข้าไปอุดตันผิวนั่นเอง

สิวที่ขึ้นบริเวณกรอบล่างของใบหน้า อย่างคางนั้น นอกจากเกิดได้จากหลายสาเหตุแล้ว สิวขึ้นคางก็ยังมีหลายประเภท แยกไปตามลักษณะของสิวที่แตกต่างกัน สิวที่คางมีลักษณะหลากหลายรูปแบบตามต่อไปนี้
 

สิวอักเสบที่คาง

สิวอักเสบที่คาง คือสิวที่เกิดการอักเสบในผิวหนังบริเวณคาง สิวอักเสบที่คางมีลักษณะแดง เป็นก้อน หัวสิวแข็ง สิวอักเสบมีหัวที่สังเกตเห็นหัวสิวเป็นสีขาวได้เพราะมีหนองอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง อย่างเช่น สิวอักเสบหัวหนอง นอกจากนี้สิวอักเสบที่คางชนิดนี้หากเมื่อสัมผัสโดนอาจรู้สึกเจ็บได้

ลักษณะการอักเสบของสิวที่คางยังช่วยบอกถึงปัจจัยการเกิดสิวและระดับความรุนแรงของสิวที่เป็นได้อยู่อีกด้วย โดยถ้าหากสิวอักเสบที่คางมีหัวสิวเป็นตุ่มหนองด้วย หมายความว่า สิวที่เป็นอยู่นี่อักเสบอยู่ในระดับยังไม่รุนแรง เกิดจากสิวที่มีลักษณะที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก จะมีขั้นตอนการรักษาที่ไม่ยากนัก

ส่วนสิวหัวช้างหรือสิวอักเสบที่คางขนาดใหญ่ เกิดจากสิวที่อักเสบจากการอุดตันผิวหนังในระดับลึก เนื่องจากเป็นสิวอักเสบที่คางขนาดใหญ่ทำให้การรักษาค่อนข้างที่จะซ้ำซ้อนกว่าสิวขนาดเล็ก อาจจะจำเป็นต้องใช้การฉีดยาลดการอักเสบของสิว เพื่อผลการรักษาที่ดีกว่า

สิวอุดตันที่คาง

สิวอุดตันที่คาง เป็นสิวที่เกิดจากการอุดตันของน้ำมันบนผิวและสิ่งสกปรกที่ตกข้างอยู่เข้าไปอุดตันในรูขุมขนบริเวณคาง โดยสิวอุดตันที่คางมีลักษณะเป็นตุ่มก้อนแข็งหลายขนาดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีทั้งสิวอุดตันที่มีหัวปิดและสิวอุดตันแบบที่มีหัวปิด

สิวอุดตัน หากอุดตันในระดับไม่ลึกมากจะสามารถกดออกได้ แต่การให้แพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญเป็นคนกดออกให้จะมีโอกาสน้อยมากที่จะทำให้ผิวบริเวณที่กดสิวอุดตันออกมีรอยช้ำ และมีรอยแผลจากสิวหลงเหลือเอาไว้

สิวขึ้นคางไม่มีหัว

สิวขึ้นคางไม่มีหัว เป็นสิวอักเสบประเภทหนึ่งที่ไม่มีหัวสิวโผล่ออกมาให้เห็น เนื่องจากเกิดการอักเสบภายในชั้นผิว ไม่ใช่ภายนอกทำให้ไม่มีหัวสิว จึงมีลักษณะเป็นแค่ตุ่มสีขาว ไม่มีมีหัวสิว และ ไม่สามารถกดหัวสิวออกมาได้

แต่หากสิวขึ้นคางไม่มีหัวเริ่มมีการอักเสบรุนแรงขึ้นอาจเริ่มมีหัวสิวดันขึ้นมาเอง เช่น สิวหัวขาว ในกรณีที่สิวอักเสบไม่มีหัวขนาดค่อนข้างใหญ่หรือสิวหัวช้าง หมายความว่าเกิดการอักเสบในผิวค่อนข้างมาก อาจทำให้เกิดรอยแผลจากสิวในภายหลังได้ ควรหลีกเลี่ยงการ บีบ แกะ แคะสิวขึ้นคางไม่มีหัว เพราะอาจทำให้สิวมีอาการอักเสบมากกว่าเดิม และหลงเหลือแผลสิวทิ้งเอาไว้

สิวผดที่คาง

สิวผดที่คาง เป็นสิวที่คล้ายกับผดผื่นขึ้นบริเวณคาง มักเป็นตุ่มขนาดเล็กใต้ผิวหนัง มักจะขึ้นเป็นกลุ่มปื้น ไม่ค่อยขึ้นเป็นสิวเม็ดเล็ก ๆ ทีละเม็ด อาจมองไม่ค่อยเห็นด้วยตาเปล่า แต่หากเมื่อสัมผัสผิวบริเวณคางจะรู้สึกได้ว่ามีตุ่มสิวผดที่คางผุดขึ้น หรือในบางกรณีอาจมีอาการคันร่วมด้วย หากยิ่งผู้เป็นสิวผดที่คางยิ่งเกา สิวผดที่คางอาจจะยิ่งลุกลามมากขึ้นได้ หรือลามไปในบริเวณอื่น ๆ ใกล้ได้

หรือในบางกรณีที่พบเห็นได้บ่อยของสิวผดที่คาง มักจะมีสิวเสี้ยนที่คางเกิดขึ้นร่วมด้วย อาจจะรักษาได้ด้วยยาทาหรือยากินเป็นหลัก 

สิวฮอร์โมนคาง

สิวฮอร์โมนที่คาง เกิดจากการอักเสบหรืออุดตันจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย มักพบในกลุ่มวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในวัยรุ่นหญิงในช่วงก่อนและหลังมีรอบเดือน เพราะเป็นช่วงที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เป็นฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการกระตุ้นการผลิตน้ำมันของต่อมไขมันมากขึ้น ทำให้มีน้ำมันส่วนเกินบนผิวมากเกินไปจนเกิดการอุดตันในรูขุมขนได้ง่าย

โดยลักษณะพิเศษของสิวฮอร์โมนที่ต่างจากสิวประเภทอื่น คือสิวประเภทนี้มักขึ้นซ้ำในบริเวณเดิม ยิ่งถ้าหากเป็นช่วงที่ร่างกายมีสิ่งเร้ากระตุ้นให้เกิดสิวที่คางขึ้น เช่น ช่วงมีประจำเดือน ช่วงที่มีความเครียดสูง เครียดสะสมเป็นระยะเวลานาน หรือช่วงที่ใช้ยาคุม ก็มีความเป็นไปได้ว่าสิวที่คางในช่วงนี้เป็นสิวที่เกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายที่ไม่สมดุล

สิวฮอร์โมนคางธรรมดาทั่วไป การรักษาด้วยการรับประทานยาก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นสิวฮอร์โมนจากผลข้างเคียงของโรคทางสูตินรีเวชหรือโรคต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมหมวกไตทำงานหนัก ซีสในรังไข่ เป็นต้น อาจจะต้องเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ทางสูตินรีเวชหรือแพทย์แผนกต่อมไร้ท่อเพื่อการรักษาอย่างเหมาะสม

 

สิวที่คาง อาจบ่งบอกถึงโรคผิวหนังชนิดอื่น

แม้ว่าปัจจัยข้างต้นจะเป็นสาเหตุของสิวรวมถึงสิวบริเวณคาง แต่ตุ่มที่คางอาจไม่ใช่สิวไปเสียทั้งหมด บางครั้งสิวที่ขึ้นคางอาจเป็นสิวบอกโรคหรืออาการผิดปกติของผิวหนังก็ได้ เช่น
 

ขนคุด

บางครั้งสิวขึ้นคางอาจเป็นในลักษณะของขนคุด ขนคุดคือขนที่ขึ้นอยู่ภายใต้ผิวหนัง ช่วงปลายขนติดอยู่ในชั้นผิวหนังแทนที่จะโตแล้วออกมานอกชั้นผิวแบบปกติ ทำให้เกิดเป็นตุ่มนูน ผิวไม่เรียบเนียน โดยเฉพาะในผู้ชายเพราะว่าการโกนหนวดบางครั้งทำให้ระคายผิว หรือเกิดการตัดขนใต้ชั้นผิวหนังทำให้ขนที่เติบโตออกมาติดอยู่ในผิวชั้นในได้ บางกรณีอาจเกิดการอักเสบและมีหนองร่วมด้วย
 

โรคผิวหนัง Rosacea

โรคผิวหนังชนิดหนึ่งเรียกว่า Rosacea เป็นอาการผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ลักษณะจะเป็นผื่นแดง ผิวเกิดรอยแดงหรือระคายผิวได้ง่าย หนึ่งในอาการคือตุ่มแดงที่เกิดขึ้นบนผิวในบริเวณคางและกรอบหน้า

หากตุ่มที่เกิดบริเวณคางไม่ใช่สิว การรักษาย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย จึงควรสังเกตว่าสิวบริเวณคางนั้นมีลักษณะอย่างไรเพื่อแยกสิวออกจากปัญหาผิวเหล่านี้

การรักษาสิวที่คางนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีตั้งแต่วิธีเบื้องต้นไปจนถึงวิธีที่มีการนำนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาร่วมใช้ในการรักษาด้วย ผู้ที่เป็นสิวขึ้นคางสามารถเลือกรักษาได้ตามความพึงพอใจและความเหมาะสม โดยวิธีการรักษาสิวขึ้นคางมีวิธี ดังนี้
 

1. การทำความสะอาดผิวให้สะอาดหมดจด และถูกวิธี

วิธีการรักษาสิวขึ้นคางเบื้องต้นที่ไม่ว่าใครก็สามารถเริ่มต้นทำเองได้นั่นก็คือ การรักษาความสะอาดของผิวให้สะอาดหมดจด ไม่เหลือสิ่งสกปรกตรงค้างบนผิวให้อุดตันบนใบหน้า พร้อมทั้งควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้าที่อ่อนโยน และไม่ขัดถู แคะ แกะ เกาใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณคาง ไม่ให้เกิดการระคายผิว

นอกจากนี้แม้แต่ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผมอย่างยาสระผม ครีมนวดผม ทรีตเมนต์ผม ก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน เพราะมีโอกาสที่เมื่อใช้งานฟองหรือตัวครีมจากน้ำยาอาจจะไหลลงมาสู่บริเวณคางได้
 

2. การรักษาด้วยการทายา

สิวอักเสบที่คางเรื้อรัง รักษาได้ด้วยการปรึกษาแพทย์ผิวหนังและทายารักษาสิวที่คางจำพวกกลุ่มตัวยา Benzoyl Peroxide , Retinoic acid หรือยาปฏิชีวนะแบบทา การเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดการอักเสบของสิวที่คาง และลดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังที่ก่อให้เกิดสิวที่คางได้เช่นกัน
 

3. การรับประทานยาคุมกำเนิด

การรักษาสิวที่คางด้วยการรับประทานยาคุมกำเนิด เป็นวิธีที่ช่วยคุมระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เป็นตัวกระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันออกมาให้อยู่ในสภาวะสมดุลปกติ ไม่ผลิตน้ำมันส่วนเกินจนอุดตันผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณคางที่เสี่ยงต่อการเกิดสิวที่คางขึ้น
 

4. การรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ

การรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดการอักเสบของสิวที่คาง และขจัดเชื้อแบคทีเรียบนผิวให้ลดลงได้ ทำให้แนวโน้มที่จะเกิดสิวที่คางลดต่ำลง
 

5. การรักษาด้วยการรับประทานกลุ่มยา Isotretinoin

ในกรณีผู้ที่มีสิวที่คางอักเสบรุนแรง หรือดื้อยา สามารถรับประทานกลุ่มยา Isotretinoin ที่เป็นอนุพันธ์ของวิตามิน A ทำหน้าที่ยับยั้งสาเหตุของการเกิดสิว เช่น กดการทำงานของต่อมไขมันให้ผลิตสารที่เป็นไขมัน (sebum) ลดลง ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium acnes (P. acnes) ลดการอักเสบของสิว และยับยั้งการเกิดสิวอุดตัน (comedone) 

แต่ทั้งนี้กลุ่มยาประเภทดังกล่าวมีผลข้างเคียงต่อร่างกายที่รุนแรง ดังนั้นก่อนใช้ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน
 

6. การรักษาด้วยการกดสิว และการฉีดสิวอักเสบ

วิธีรักษาด้วยการฉีดสิวอักเสบ และการอักเสบ เป็นอีกวิธีที่ช่วยขจัดปัญหาสิวที่คางออกไปได้ แต่ทั้งนี้ก็ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผิวหนังดีกว่าการกดสิวด้วยตนเอง เพราะจะได้เกิดปัญหารอยสิวตามมาให้กังวลใจเพิ่มอีก
 

7. การรักษาด้วยเลเซอร์ IPL

เป็นวิธีรักษาสิวขึ้นคางโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมกับการรักษา โดยเป็นนวัตกรรมการนำพาพลังงานแสงความเข้มข้นสูงที่มีความยาวหลายช่วงคลื่น มาฉายบนผิวของผู้เข้ารับการรักษาเพื่อช่วยฟื้นบำรุงผิวให้กลับมาแข็งแรง ลดการอักเสบของสิวที่คาง และลดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการเกิดสิวที่คาง
 

8. การรักษาด้วย MADE COLLAGEN

MADE COLLAGEN คือการนำส่วนผสมจากสารสกัดธรรมชาติ ทั้งวิตามิน แร่ธาตุเอมไซม์ ชนิดต่าง ๆ และเซลล์บำบัดอย่าง พลาเซนต้า (Placenta) และคอลลาเจน (Collagen) มาฉีดเข้าที่ผิว เพื่อให้ออกฤทธิ์ดีท็อกซ์ผิว และปรับสมดุลให้กับผิว ทำให้ผิวแข็งแรงและเป็นเกราะป้องกันที่ดีให้กับผิวไม่ให้เกิดสิวที่คางขึ้น

การป้องกันสิวที่คางสามารถทำได้หลายวิธีเพื่อไม่ให้มีสิวใต้คางมากวนใจ
 

1. การดูแลผิวหน้าให้สะอาดอยู่เสมอ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของโควิดที่การใส่หน้ากากอนามัยอาจทำให้เกิดสิวแพ้แมสก์จากการหายใจใต้แมสก์และเกิดความอับชื้นได้ ดังนั้นการทำความสะอาดผิวอย่างล้ำลึกถึงรูขุมขนจึงเป็นสิ่งที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดการอุดตันหรือเกิดสิวในบริเวณคางได้เป็นอย่างดี 

โดย Bioderma Sebium H2O เป็นคลีนซิ่งไมเซล่าที่สามารถทำความสะอาดรูขุมขนได้ ช่วยป้องกันสิ่งสกปรกตกค้างโดยเฉพาะในบริเวณคางที่หลายคนมักมองข้าม มั่นใจได้ผิวสะอาดและยังคงความอ่อนโยนกับผิว ไม่ทำให้ผิวแห้งกร้านหรือผิวตึง ไม่เกิดการระคายผิว คลีนซิ่งมีหลายสูตรหากมีความกังวลเรื่องผิวแพ้ง่าย สามารถเลือกใช้คลีนซิ่งที่เหมาะกับสภาพผิวได้
 

2. การล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่ได้มาตรฐาน

การล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่ได้มาตรฐานและดูแลผิวเป็นสิวโดยเฉพาะจะช่วยป้องกันการเกิดสิวที่คาง และช่วยให้สิวบริเวณอื่นหายได้ไวขึ้น ไม่กระจายตัวไปยังจุดอื่น เช่น Bioderma Sebium Gel Moussant ซึ่งเป็นเจลล้างหน้าช่วยลดความมันส่วนเกิน และลดโอกาสการเกิดของแบคทีเรียที่เป็นปัญหาสิว 

สำหรับผู้ที่มีผิวหน้ามันและมีน้ำมันส่วนเกิน อาจเพิ่มแนวโน้มผิวอุดตันได้ง่าย การใช้เจลล้างหน้าที่สามารถลดความมันส่วนเกินและช่วยลดโอกาสการเกิดของแบคทีเรียจะช่วยให้ผิวไม่มันเยิ้ม ลดโอกาสการเกิดสิวที่คางได้ นอกจากนั้นเจลล้างหน้ายังมีความอ่อนโยนกว่าผลิตภัณฑ์ล้างหน้าประเภทอื่นๆ ใช้ได้กับทุกสภาพผิวอีกด้วย
 

3. การเติมน้ำให้ผิวและควบคุมความมันส่วนเกินบนใบหน้า

ผิวที่ขาดความชุ่มชื้นแม้ว่าจะเป็นผิวมัน ก็ส่งผลให้ผิวเกิดการระคายผิวได้ง่าย เพิ่มโอกาสการเกิดขนคุด ทำให้หน้าไม่เรียบเนียน และสิวหายได้ยากกว่าปกติ การเติมน้ำให้ผิวและควบคุมความมันส่วนเกินบนใบหน้าจะช่วยลดโอกาสสิวขึ้นคางได้ 

อย่างโทนเนอร์น้ำตบ Bioderma Sebium Lotion เป็นน้ำตบคุมมัน ลดโอกาสการเกิดสิว และกักเก็บความชุ่มชื้นในผิวได้ยาวนานถึง 8 ชั่วโมง สามารถช่วยลดความข้นหนืดของน้ำมันบนผิวได้ ผิวที่อิ่มน้ำชุ่มชื้นจะช่วยให้ปราการของผิวแข็งแรง ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมจากการเข้าสู่ผิวได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
 

สรุป

คางเป็นอีกหนึ่งบริเวณของผิวที่ถูกกระตุ้นให้เกิดสิวที่คางขึ้นได้ง่าย ในสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เราต้องใส่แมสก์ปิดช่วงล่างของใบหน้า ทำให้ผิวบริเวณดังกล่าวเกิดการอับชื้นทำให้เกิดสิวที่คาง หรือสิวขึ้นตามบริเวณกรอบหน้าได้ แม้เราจะหลีกเลี่ยงสาเหตุดังกล่าวไม่ได้ แต่เราก็สามารถดูแลรักษาผิวของเราให้แข็งแรง สะอาดหมดจดอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยบรรเทาการเกิดสิวที่คางขึ้นได้

สิวฮอร์โมนมักจะมีลักษณะเฉพาะ โดยสิวมักเป็นซ้ำๆ ที่คางและกราม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฮอร์โมนแอนโดรเจนมีการกระตุ้นการผลิตน้ำมันมากขึ้น
 

สาเหตุหลักของสิวฮอร์โมน คือการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น การมีประจำเดือน หรือการใช้ยาคุมกำเนิด หากคุณสังเกตเห็นสิวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อาจบ่งบอกว่าคุณกำลังเผชิญกับสิวฮอร์โมน

การเสริมคางหรือการทำศัลยกรรมในบริเวณคางอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือการอักเสบได้ ควรหลีกเลี่ยงการกดสิวในช่วงเวลานั้น 

แต่งได้ แต่ควรระมัดระวังเพราะผิวหนังอาจยังมีความอักเสบอยู่ ควรรอให้ผิวฟื้นตัวและหายดีเสียก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดสิวใหม่หรือการระคายผิวเพิ่มเติม

Bioderma ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม

ทำความสะอาดและบำรุงผิว

ผิวผสมถึงผิวเป็นสิวง่าย

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม (Sébium)

Bioderma ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม

ผิวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เนื่องจากผิวจะมีความหนามากขึ้น มันเงา เกิดสิวอักเสบเป็นจุดมากน้อยแตกต่างกันไป และบางครั้งก็ยังคงเป็นเช่นนั้นต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่อีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม (Sébium) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รังสรรค์ขึ้นเพื่อผิวมันและเป็นสิวง่ายโดยเฉพาะ
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเบี่ยม (Sébium) มีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลผิวที่แพทย์ผิวหนังแนะนำโดยเฉพาะ ทั้งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าสำหรับผิวมัน อย่างเจลล้างหน้าและไมเซล่า วอเตอร์ มอยส์เจอไรเซอร์สำหรับผิวเป็นสิวง่าย และอื่นๆ อีกมากมาย เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวประจำวันให้ตัวคุณเลย!