น้ำและหน้าที่ในการเป็นเกราะป้องกันของผิวหนัง
ผิวหนังชั้นนอกสุด (horny layer) ประกอบด้วยเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียสซึ่งถูก ""ประสานกัน"" ด้วยไขมัน เรียกว่า intercorneocyte lipids ปริมาณและคุณภาพของไขมันที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้ผิวหนังชั้นนอกสุดมีความแข็งแรง และจึงทำหน้าที่ เป็น ""เกราะป้องกัน"" ผิวได้ เมื่อขาดหรือเสื่อมสภาพไป ก็จะไม่มีสิ่งใดช่วยให้เซลล์จะเกาะติดกันได้อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นคือเหงื่อจะออกมากขึ้นหรือที่เรียกว่า การสูญเสียน้ำผ่านชั้นผิวหนัง (Transepidermal Water Loss: TEWL ซึ่งก็คือ การระเหยของน้ำที่พบในร่างกายอย่างถาวรทีละน้อยอย่างเป็นธรรมชาติ) ผิวที่มีความชุ่มชื้นเพียงพอควรจะสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ intercorneocyte lipids จึงมีความสำคัญเช่นนี้เอง
อควาพอริน คืออะไร
อควาพอริน คือช่องทางที่น้ำเคลื่อนที่ในผิวหนังชั้นหนังกำพร้า โปรตีนเหล่านี้สร้างโดย keratinocytes (เซลล์ที่สร้างผิวหนังชั้นหนังกำพร้า) และแทรกอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ผิวเพื่อให้โมเลกุลของน้ำผ่านเข้าไปได้ การเคลื่อนที่นี้สำคัญต่อผิวหนังเป็นอย่างยิ่ง ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าไม่มีเส้นเลือดฝอย ธาตุทั้งหลายที่จำเป็นต่อชีวิตของเซลล์ (เกลือแร่ วิตามิน ธาตุทางโภชนาการ ฯลฯ) ที่เลือดพาไปยังผิวหนังชั้นหนังแท้จะไปถึงชั้นผิวด้านนอกของผิวหนังได้ด้วยอควาพอริน หากไม่มีอควาพอรินแล้ว ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าก็จะไม่สามารถ ""เลี้ยง"" ตัวเองได้